เครือข่ายข้อมูลชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Information Network – IIN)เครือข่ายข้อมูลชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Information Network – IIN) ทำงานในประเด็นการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นที่ผู้หญิง เด็ก เยาวชน และกลุ่มคนที่เปราะบางอื่นๆ ในชุมชน IIN ตระหนักดีว่า “การอนุรักษ์และการปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากเราต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด”
IIN เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร (NGO) ซึ่งดำเนินการโดยอาสาสมัคร โดยจดทะเบียนในสาธารณรัฐเคนยา องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2539 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านข้อมูลผ่านสื่อและช่องทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง การดำรงชีวิต และการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด
องค์กรมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูล กิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชน และกิจกรรมรณรงค์เพื่อสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมือง ผู้หญิง เด็กหญิงและชาย เยาวชน และชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลอื่นๆ ในภูมิภาค
ประเทศ : ประเทศเคนยา
เว็บไซต์ : Indigenous Information Network
X/Twitter: IIN Kenya
Facebook: IIN Kenya
Dashed line
งานหลักของ IIN:
- การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเน้นที่ข้อตกลงพหุภาคีต่างๆ ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
- ปัญหาสุขภาพ รวมถึงอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ
- สิทธิสตรีและการสร้างกระแสความเสมอภาคระหว่างเพศ
- การศึกษาซึ่งรวมถึงการศึกษาของเด็กผู้หญิง
- ปัญหาเรื่องน้ำ ส่งเสริมการเข้าถึงน้ำสะอาดโดยการเก็บน้ำฝน การปกป้องแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าหากไม่มีน้ำสะอาด ชุมชนก็จะไม่มีสุขภาพที่ดี
- การเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงการระดมทุนสำหรับชุมชนที่ทำงานด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีและเยาวชน
- การคุ้มครองและการรักษาความรู้ดั้งเดิม ภาษา และการปฏิบัติทางวัฒนธรรม
- สิทธิในที่ดินโดยมุ่งเน้นที่สิทธิสตรี การเข้าถึง และการเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สิน
- การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเน้นที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
Dashed line
บทบาทของ IIN ในโครงการเส้นทางการเปลี่ยนแปลง:
บทบาทของ IIN คือการช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการดำเนินโครงการภาคสนามและผ่านการทำให้แน่ใจว่าชุมชนเข้าใจสิทธิในที่ดินของพวกเขา
นอกจากนี้ IIN ยังร่วมมือกับ โครงการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองเชพคิตาเล (CIPDP) ในการทำให้รัฐบาลเคนยาดำเนินการตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ทั้งสององค์กรทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มการยอมรับของชุมชนเหล่านี้ในฐานะผู้พิทักษ์รักษาสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และเพื่อเสริมสร้างความพยายามของชุมชนในการฟื้นฟูและปกป้องดินแดนของพวกเขา รวมทั้งเพื่อกำหนดนโยบายระดับประเทศ