Indigenous Peoples across Asia are facing significant challenges to their traditional ways of life, customary land and natural resources, including extractivism, land evictions and criminalisation.
ในเอเชีย เราเป็นพันธมิตรกับสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Pgakenyaw Association for Sustainable Development – PASD) และ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT) ในประเทศไทย และ เครือพันธมิตรเพื่อความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ (Partners for Indigenous Knowledge Philippines – PIKP) ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกำลังทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
สำรวจผลงานของเราในประเทศฟิลิปปินส์ประเทศไทย
กิจกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถานการณ์ของชนเผ่าพื้นเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพในเอเชียมีความซับซ้อนและหลากหลาย เนื่องจากมีชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองและระบบนิเวศที่แตกต่างกันมากมายทั่วทั้งทวีป ในเอเชีย มีชนเผ่าพื้นเมืองประมาณ 400 ล้านคน ทำให้เป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเจ็ดภูมิภาคทางสังคมและวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (UN socio-cultural regions) อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว ชนเผ่าพื้นเมืองจำนวนมากในเอเชียเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในการรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม การปกป้องผืนดินและทรัพยากรธรรมชาติของพวกเขา รวมทั้งการได้รับการยอมรับจากรัฐเกี่ยวกับความเป็นอัตลักษณ์และสิทธิที่พวกเขาพึงมี
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ได้แก่ กระบวนการทำให้การกระทำกลายเป็นความผิดอาญาและการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีสาเหตุมาจากอุตสาหกรรมสกัด สาร ธุรกิจเกษตร การท่องเที่ยว การแย่งชิงที่ดิน การถูกขับไล่ออกจากพื้นที่คุ้มครอง และการหดตัวลงของพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมตามสิทธิที่พึงมี การปกป้องสิทธิเหล่านี้และการจัดการประท้วงกลายเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้
การหดตัวลงของพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมยังเป็นปัญหาสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองในเอเชีย ซึ่งรวมถึงกฎหมายการเงินที่เข้มงวดสำหรับองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ (CSOs) สิ่งนี้บั่นทอนความสามารถของ CSO ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สนับสนุนประชาธิปไตยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การหาหนทางและการจัดการสถานการณ์นี้ส่งผลให้เกิดภาระงานที่มากขึ้นให้กับองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรของชนเผ่าพื้นเมือง
แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ แต่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองหลายแห่งในเอเชียก็ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อปกป้องผืนดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ ความพยายามเหล่านี้รวมถึงความคิดริเริ่มด้านการอนุรักษ์โดยชุมชนที่ส่งเสริมแนวทางการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับการรณรงค์และการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิและที่ดินของชนเผ่าพื้นเมือง วิธีนี้ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองยังคงสามารถปกป้องบ้านของพวกเขา ปกครองตนเองผ่านกฎหมายจารีตประเพณี และคงระบบความรู้ซึ่งมีส่วนช่วยในการก้าวไปสู่เป้าหมายระดับโลกที่กำหนดโดยกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (The Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) และข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Paris Agreement on Climate Change)
การคุ้มครองและความสัมพันธ์เชิงจิตวิญญาณของชนเผ่าพื้นเมืองกับที่ดินและดินแดนของพวกเขาเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นของโลกทัศน์ของพวกเขา ความรู้สึกที่แน่นแฟ้นของความเป็นชุมชน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของเครือญาติ การเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพยากรร่วมกัน และการตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์เป็นองค์ประกอบที่เป็นลักษณะเฉพาะบางประการของสถาบันทางสังคมและการเมืองซึ่งแยกชนเผ่าพื้นเมืองออกจากลุ่มอื่นๆในสังคม