การฝึกอบรม ICCS ว่าด้วยวิธีการกำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ
ศูนย์สหวิทยาการเพื่อศาสตร์การอนุรักษ์ (Interdisciplinary Centre For Conservation Science – ICCS) คือกลุ่มนักวิจัยอยู่ที่คณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด โดยผ่านงานวิจัยและความร่วมมือทั่วโลก ICCS และเพื่อนร่วมงานทำงานด้านความสัมพันธ์ของสังคมและระบบนิเวศวิทยา โดยใช้วิธีการหลายอย่างทางสังคมและนิเวศวิทยาเพื่อกล่าวถึงประเด็นหลัก
จุดเน้นเบื้องต้นสำหรับ ICCS ว่าด้วยโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลง (Transformative Pathways) คือจัดให้มีการสนับสนุนและฝึกอบรมในระดับพื้นที่แก่ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการวางแผน ดำเนินการ วางแผน ดำเนินการ และกำกับติดตามยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้อย่างยั่งยืนในที่ดินของพวกเขา โดยการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนท้องถิ่นและระดับชาติโดยตรง วางแผน ดำเนินการ และกำกับติดตามยุทธศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้อย่างยั่งยืนในที่ดินของพวกเขา โดยการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนท้องถิ่นและระดับชาติโดยตรง รับใช้ในท้องถิ่นและให้การสนับสนุนในการปรับใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อหนุนช่วยระบบการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรตามจารีตประเพณี ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 สเตฟานี บริตเตน (Stephanie Brittain) จาก ICCS และ ทอม โรว์ลี่ย์ (Tom Rowley) จากแผนงานคนอยู่กับป่า (Forest Peoples Programme ข FPP) ได้เข้าเยี่ยมชาวโอเกียกแห่งภูเขาเอ็ลกอน – ประเทศเค็นยา เพื่อให้การเอื้ออำนวยการฝึกอบรมการกำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพที่นำโดยชุมชน
ประเภท: บทความ
ภูมิภาค: แอฟริกา
ประเทศ : นประเทศเคนยา
หัวข้อเรื่อง: การติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ที่นำโดยชุมชน
พันธมิตร : โครงการพัฒนาชนพื้นเมืองเชพคิตาเล (CIPDP)
ทำไมจึงต้องกำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ
ชาวโอเกียกได้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพอันมากมายของภูเขาเอ็ลกอนมาช้านานแล้ว แต่ยังกลับตกเป็นเป้าของการบังคับขับไล่จากผืนดินของตนเองในนามของการอนุรักษ์ จากการชนะในการพิจารณาคดีที่สำคัญ ชี้ว่าการขับไล่ก่อนหน้านี้จากที่ดินของตนเป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้ชาวโอเกียกต้องการแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ข้างฝ่ายงานอนุรักษ์
และนั่นคือการปฏิบัติและวิธีการจัดการที่ดินของพวกเขาเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความหลากหลายอันมากมายของภูเขาเอ็ลกอน
เพื่อบรรลุการนี้ ชาวโอเกียกต้องการเสริมเติมความมั่งคั่งของภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองท้องถิ่นของตนและการปฏิบัติในการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องเข้ากับวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสดงถึงความหลากหลายทางชีวภาพอันมากมายในที่ดินของพวกเขาให้แก่การรับรู้อย่างกว้างขวาง ที่รวมถึงนักปฏิบัติงานอนุรักษ์และบรรดาผู้กำหนดนโยบาย ข้อมูลการกำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพยังจะได้ถูกใช้ประโยชน์โดยชุมชนเพื่อเป็นแนวทางให้พวกเขายังคงใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย โดยสอดคล้องกับเทศบัญญัติของพวกตน ด้วยเหตุผลนี้ การฝึกอบรมเรื่องวิธีการกำกับติดตามจึงมีความสำคัญ
ถึงแม้แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมจะสามารถให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับการสูญเสียป่าไม้ แต่มันมิได้แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายทางชีวภาพในป่าเหล่านั้นกำลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการกำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ
อะไรบ้างที่ต้องกำกับติดตามและเพราะเหตุใด
เพื่อนความหลากหลายทางชีวภาพสองคนจากชุมชนได้เข้าร่วมแผนงานมิตรสัมพันธ์ (fellowship programme) (จากเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2566) เพื่อพัฒนาการกำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพบนฐานชุมชน ณ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลง IKI และทั้งยังนำการประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาในที่ซึ่งพวกเขาได้แบ่งปันภูมิปัญญามากมายของตนแห่งภูเขาเอ็ลกอน และข้อท้าทายงานอนุรักษ์กับบรรดานักวิชาการและนักปฏิบัติจากทั่วสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะมาเยี่ยมอ็อกซ์ฟอร์ด พวกเขาได้นำในการประชุมเริ่มต้นของชุมชนที่ได้มีการระบุบรรดาสายพันธุ์เป้าหมายของการกำกับติดตาม กำกับติดตาม สายพันธุ์สัตว์แลพืชที่สำคัญประกอบด้วย:
- ไม้ไผ่ (ต.ย. การกระจายตัวและความยั่งยืนของการเก็บหา)
- มะกอกอัฟริกัน (ต.ย. การเผาถ่านที่ผิดกฎหมายและทำไม้เถื่อน)
- ไม้สักเอ็ลกอน (ต.ย. การทำไม้เถื่อน)
- พืชสมุนไพร
- ละมั่งและกระจง (ต.ย. การกระจายตัวและปัจจัยคุกคามต่อสายพันธุ์จากชุมชนใกล้เคียง)
- ช้าง (ต.ย. การกระจายตัวและการอยู่ร่วมกัน)
- ไฮยีนา (ต.ย. บันทึกการจู่โจมปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาทางออกที่เป็นไปได้)
พวกเขายังได้ระบุตัวชี้วัดเขตแดนที่อุดมสมบูรณ์ อาทิเช่น อากาศสะอาด น้ำสะอาด ที่ดินที่พิทักษ์รักษาความเป็นมนุษยชาติของพวกเขา ความเคารพผู้อาวุโสสำหรับเยาวชน ต้นไม้จำนวนมากและรังผึ้ง และการมีพร้อมของยาสมุนไพร ซึ่งจะสามารถใช้พัฒนาสำนึกแบบองค์รวมว่าส่วนใดของเขตแดนของตนที่อุดมสมบูรณ์หรือไม่จากบนฐานภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง
การฝึกอบรม
ทอมและสเตฟานีมาถึงประเทศเค็นยาในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ด้วยเป้าประสงค์ของการหนุนเสริมความสามารถของเจ้าหน้าที่ CIPDP และชุมชนท้องถิ่นในเทคนิคการกำกับติดตามที่ช่วยเสริมภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่ของพวกเขาและความพยายามในการกำกับติดตามแบบไม่เป็นทางการ ในเวลาสามวัน พวกเขาได้ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ห้าคนที่เกี่ยวข้องในโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลง ตามมาด้วยการประชุมชุมชนที่ลาบูท (Laboot) การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้พวกเขาสามารถจัดฝึกอบรมและชี้แนะผู้กำกับติดตามของชุมชนได้
ในระดับชุมชน มุ่งที่จะแนะนำงานกำกับติดตามอันเป็นความต่อเนื่องจากงานจัดทำแผนที่ที่ประสบความสำเร็จที่ดำเนินการอยู่ และแสวงหาความเห็นชอบสำหรับช่วงระยะต่อไป ในการกล่าวในการประชุม
สเตฟานีบอกว่า “การกำกับติดตามจะมิได้มาทดแทนภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองด้วยวิทยาศาสตร์ แต่กลับเป็นว่าจะผสมผสานทั้งสองส่วนเพื่อทำให้เกิดข้อถกเถียงที่เข้มแข็งสำหรับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม” ชุมชนได้ให้ความเห็นชอบ คนผู้หนึ่งกล่าวว่า “เรามากำกับติดตามความหลากหลายทางชีวภาพของเราเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาระหว่างรุ่นคนกัน”
จะมีการใช้วิธีการกำกับติดตามสี่วิธีเพื่อเสริมการปฏิบัติของชนเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่ในการรายงานด้วยวาจาให้แก่บรรดาผู้อาวุโสและการเดินป่าและการสำรวจจุดสูง:
- รูปสี่เหลี่ยม – เป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างนิเวศวิทยาอย่างเป็นระบบโดยใช้กรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า (quadrats) ของขนาดที่ได้นิยามไว้เพื่อรวบรวมข้อมูลการกระจายตัวและความมาก-น้อยของพืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในพื้นที่เฉพาะ ผู้กำกับติดตามจะเป็นผู้กำหนดแบบสุ่มหรือแบบเป็นระบบ โดยเน้นเฉพาะแนวป่าไผ่และจดบันทึกประเภทและปริมาณของสิ่งมีชีวิตภายในนั้น หลักฐานการเก็บหา และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และทำซ้ำกระบวนการทั่วกรอบสี่เหลี่ยมหลายแปลงตามเวลาเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นตัวแทนสำหรับการวิเคราะห์
- เส้นตัดขวาง – เทคนิคการรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดทำเส้น (ตัดขวาง) ที่กำหนดล่วงหน้าภายในเขตแดน ร่วมกับผู้กำกับติดตามเดินเพื่อจดบันทึกการมีอยู่และมักจะระบุตำแหน่งแห่งที่ของพืช สัตว์ หรือกิจกรรมของมนุษย์ โดยการสำรวจตามแนวเส้นตัดขวางอย่างเป็นระบบและจดบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ร่องรอย รัง หรือการพบเห็นโดยตรง
นักวิจัยจะสามารถประเมินการกระจายตัวและสิ่งมีชีวิตมากมายที่เคลื่อนไหวและหลีกเร้น นี่อาจช่วยได้มากสำหรับการกำกับติดตามการมีอยู่ของฝูงช้างและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ หรือหลักฐานของการทำไม้เถื่อน การล่าสัตว์หรือการเผาถ่านผิดกฎหมาย - กล้องกับดัก – เป็นเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ก้าวก่ายโดยการใช้กล้องที่เปิดด้วยความเคลื่อนไหวเพื่อจับภาพหรือวีดีทัศน์ของสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน เป็นการให้ข้อสนเทศที่มีคุณค่าถึงการมีอยู่ พฤติกรรมและแบบแผนต่าง ๆ ของกิจกรรม ในทางยุทธศาสตร์กล้องกับดักจะถูกจัดวางในพื้นที่ที่น่าสนใจ อาทิเช่น เส้นทาง หรือการศึกษาแหล่งเฉพาะเจาะจงเพื่อจับข้อมูลภาพสัตว์ โดยเฉพาะบรรดาที่ขี้อาย หากินกลางคืน หรือหลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์
- มาปีโอ (Mapeo) – เป็นชุดเครื่องมือไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการบันทึก กำกับติดตาม และทำแผนที่ประเภทต่าง ๆ ของข้อมูล บรรดาข้อมูลทั้งหมดชุมชนเองเป็นเจ้าของ สมาชิกบางคนของชุมชนมีความรู้เรื่องมาปิโอ มาปิโอนี้จะใช้เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยที่สมาชิกชุมชนหลายคนได้ผ่านการฝึกอบรมมาปิโอแล้ว และมันจะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยต่อพวกเขา
แผนการกำกับติดตาม
การกำกับติดตามจะทำใน 8 หมู่บ้าน ซึ่งกระจายเขตนิเวศวิทยาของภูเขาเอ็ลกอน แต่ละหมู่บ้านนำเสนอชื่อ 4 คน ผู้จะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับติดตาม
พวกเขาจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการ นี่จะตามมาด้วยช่วงระยะนำร่องซึ่งผู้กำกับติดตามจะรวบรวมข้อมูลเป็นรายเดือน เมื่อพวกเขาแสดงให้เห็นความชำนาญในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว จึงจะเริ่มเปิดตัวอย่างเต็มที่ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกสามเดือน/ครั้ง หลักการที่ยึดถือโดยชุมชนโอเกียกทำหน้าที่กำกับทิศทางของกระบวนการกำกับติดตาม
มีส่วนอย่างสำคัญต่อความก้าวหน้าของทั้งสิทธิในที่ดินของชุมชนและความพยายามด้านงานอนุรักษ์