Skip to main content

เอเชีย

Indigenous Peoples across Asia are facing significant challenges to their traditional ways of life, customary land and natural resources, including extractivism, land evictions and criminalisation.

ในเอเชีย เราเป็นพันธมิตรกับสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Pgakenyaw Association for Sustainable Development – PASD) และ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT) ในประเทศไทย และ เครือพันธมิตรเพื่อความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ (Partners for Indigenous Knowledge Philippines – PIKP) ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกำลังทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้

สำรวจผลงานของเราในประเทศฟิลิปปินส์ประเทศไทย

กิจกรรม

Filter

การกำกับติดตามบนฐานชุมชนของที่ดินและทรัพยากรของบรรพชนในเมือง

ประสบการณ์ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองอีบาลอยของมู…
16.12.24

การทำแผนที่ กำกับติดตาม เขตแดนชนเผ่าพื้นเมือง

ภาพยนตร์นี้สร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์ชนเผ่าพื้น…
30.09.24
Sungai ethnic men explaining on the types of animal traps using materials from their forest. Tony/PACOS, 2015

PACOS Trust เข้าร่วมวิถีการเปลี่ยนแปลง

ในเดือนสิงหาคม 2567 (2024) เรารู้สึกเป็นเกียร…
29.08.24

ความเชื่อ ทรัพยากร และวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำแม่ยางมิ้น

ชุมชนในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ยางมิ้นที่มี…
24.07.24

วิถีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น ถึงฤดูกาลแห่งชีวิต ที่เปลี่ยนไป

เมื่อยามย่างเข้าสู่ฤดูฝน ต้นไม้ พืชพันธุ์ และ…
24.07.24

ข้อมูลเพิ่มเติม

สถานการณ์ของชนเผ่าพื้นเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพในเอเชียมีความซับซ้อนและหลากหลาย เนื่องจากมีชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองและระบบนิเวศที่แตกต่างกันมากมายทั่วทั้งทวีป ในเอเชีย มีชนเผ่าพื้นเมืองประมาณ 400 ล้านคน ทำให้เป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเจ็ดภูมิภาคทางสังคมและวัฒนธรรมของสหประชาชาติ (UN socio-cultural regions) อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว ชนเผ่าพื้นเมืองจำนวนมากในเอเชียเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในการรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม การปกป้องผืนดินและทรัพยากรธรรมชาติของพวกเขา รวมทั้งการได้รับการยอมรับจากรัฐเกี่ยวกับความเป็นอัตลักษณ์และสิทธิที่พวกเขาพึงมี

ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ได้แก่ กระบวนการทำให้การกระทำกลายเป็นความผิดอาญาและการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีสาเหตุมาจากอุตสาหกรรมสกัด สาร ธุรกิจเกษตร การท่องเที่ยว การแย่งชิงที่ดิน การถูกขับไล่ออกจากพื้นที่คุ้มครอง และการหดตัวลงของพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมตามสิทธิที่พึงมี การปกป้องสิทธิเหล่านี้และการจัดการประท้วงกลายเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้

การหดตัวลงของพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมยังเป็นปัญหาสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองในเอเชีย ซึ่งรวมถึงกฎหมายการเงินที่เข้มงวดสำหรับองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ (CSOs) สิ่งนี้บั่นทอนความสามารถของ CSO ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สนับสนุนประชาธิปไตยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การหาหนทางและการจัดการสถานการณ์นี้ส่งผลให้เกิดภาระงานที่มากขึ้นให้กับองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรของชนเผ่าพื้นเมือง

แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ แต่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองหลายแห่งในเอเชียก็ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อปกป้องผืนดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ ความพยายามเหล่านี้รวมถึงความคิดริเริ่มด้านการอนุรักษ์โดยชุมชนที่ส่งเสริมแนวทางการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับการรณรงค์และการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิและที่ดินของชนเผ่าพื้นเมือง วิธีนี้ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองยังคงสามารถปกป้องบ้านของพวกเขา ปกครองตนเองผ่านกฎหมายจารีตประเพณี และคงระบบความรู้ซึ่งมีส่วนช่วยในการก้าวไปสู่เป้าหมายระดับโลกที่กำหนดโดยกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (The Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) และข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Paris Agreement on Climate Change)

การคุ้มครองและความสัมพันธ์เชิงจิตวิญญาณของชนเผ่าพื้นเมืองกับที่ดินและดินแดนของพวกเขาเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นของโลกทัศน์ของพวกเขา ความรู้สึกที่แน่นแฟ้นของความเป็นชุมชน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของเครือญาติ การเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพยากรร่วมกัน และการตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์เป็นองค์ประกอบที่เป็นลักษณะเฉพาะบางประการของสถาบันทางสังคมและการเมืองซึ่งแยกชนเผ่าพื้นเมืองออกจากลุ่มอื่นๆในสังคม

A group photo featuring the knowledge holders of the Indigenous Karen village of Huay Ee Khang. Huay Ee Khang village is in the Chiang Mai Province of Thailand.
A group photo featuring the knowledge holders of the Indigenous Karen village of Huay Ee Khang. Huay Ee Khang village is in the Chiang Mai Province of Thailand. Photo by Lakpa Nuri Sherpa/Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP)
A forester shows how to properly measure the diameter of a tree as part of the initial steps of measuring tree biomass during a training on resource inventory mapping held in Nueva Viscaya, Philippines.
A forester shows how to properly measure the diameter of a tree as part of the initial steps of measuring tree biomass during a training on resource inventory mapping held in Nueva Viscaya, Philippines. Photo by Ella Carino/PIKP