Skip to main content

เราทุกคนต่างเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับป่าสะดือ ใช่ไหม อาจจะเคยได้ยินมา แต่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริง หรือรู้ไม่ลึกว่าคำว่า ป่าสะดือคืออะไร ซึ่งฉันก็เป็น 1 ในนั้น แต่ ณ ตอนนี้ฉันได้เข้าใจแล้ว โดยที่ลงพื้นที่จริง ในชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนเล็กๆ ประมาณ 22 หลังคาเรือน ของพี่น้องชาวปกาเกอะญอ ที่มีสายสัมพันธ์กับป่าเป็นอย่างดี

จุดเริ่มต้นของการทำป่าสะดือที่ตัวฉันไม่เคยรู้มาก่อน อาจเป็นทั้งความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ และการอนุรักษ์รักษาป่าของชาวปกาเกอะญอ

การผูกสายสะดือเด็กกับต้นไม้เป็นกุศโลบายของชาวปกาเกอะญอที่มีมานานแล้ว เพื่อการอนุรักษ์รักษาพื้นป่า ฉันอาจจะยังมีประสบการณ์การเล่าน้อยไปที่อาจจะทำให้เรื่องตลก แต่ฉันได้เข้าไปพูดคุยกับคุณลุงท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่ฉันพักอยู่มีชื่อว่า ลุงนิเวศน์ เล่าให้ฉันฟัง

“การอนุรักษ์ป่า ถ้ามีคนล้านคน ต้นไม้ก็มีล้านต้น ถ้ามีคนมาตัด หรือล้ม ต้องปลูกขึ้นมาใหม่ให้กับเจ้าของต้นไม้ และทุกคนต้องมีต้นไม้เป็นของตัวเอง”

ประโยคนี้เป็นประโยคที่ฉันชอบมาก ฉันไม่เคยคิดถึงสิ่งเหล่านี้มาก่อน ประโยคนี้เป็นประโยคที่ฉันชอบมาก ฉันไม่เคยคิดถึงสิ่งเหล่านี้มาก่อน ได้แต่คิดว่าต้องทำอย่างไรถึงอนุรักษ์ป่าได้ ทำได้แค่คิดแล้วก็คิด แต่เพียงประโยคนี้ทำให้ฉันได้รู้เข้าใจ แท้จริงว่าคนที่รักป่า คือ คนที่อยู่กับป่าได้ ใช้ประโยชน์จากป่า แต่ไม่เคยคิดที่จะทำลายให้เสื่อมเสีย

การทำป่าสะดือเด็กนั้น จะเป็นการนำสายสะดือจากแม่ที่คลอดลูกที่พึ่งเกิดมาผูกไว้ที่ต้นไม้ มีพี่คนหนึ่งบอกและเชื่อว่า

“สายสะดือนั้น ตอนที่อยู่ในท้องจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก แต่พอนำมาผูกไว้ กับต้นไม้ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าที่จะมีด้วยกันตลอดไป ป่าเป็นหลายอย่าง ของชีวิต และป่าเป็นยารักษาให้กับคนได้ด้วย”

ซึ่งเป็นคำพูดของพี่ดาวใจ เยาวชนคนรุ่นใหม่ในชุมชนที่เป็นกำลังสำคัญในอนาคตที่ จะนำความรู้ให้กับคนรุ่นหลัง นอกจากนี้การที่จะผูกสายสะดือเด็กกับต้นนั้น ไม่ใช่เพียงแต่จะผูกกับต้นไม้ต้นไหนก็ได แต่ต้องเลือกต้นที่มีไม้ผลที่คนกินได้ หรือถ้าคนกินไม่ได้สัตว์ต้องกินได้ การเลือกต้นไม้ในการที่จะผูก ต้องเตรียมการเลือกต้นไม้ไว้ก่อนที่จะกำเนินเด็กที่เกิดมา ซึ่งเป็นการจองไว้ก่อน หลังจากที่ทำการคลอดแล้ว ก็จะนำสายสะดือเด็กมาผูกไว้ที่ต้นไม้ที่เลือกไว้ แต่ไม่ใช่การผูกแบบ เอาผูกและมัดกับต้นไม้โดยตรงนะซึ่งตอนแรกฉันเข้าใจแบบนั้นเลยและพูดกับตัวเองว่า ” ถ้าผูกกับต้นไม้โดยตรงแล้ว มันจะไม่เน่าเสียเหรอ ถ้ามันเน่าเสียแล้วเขาจะรู้ได้ยังไงว่าต้นไม้ต้นนี้มีเจ้าของ”น่าสงสัยจริง ๆ ฉันจึงได้ถามกับพี่ดาวใจว่าจะต้องทำแบบนี้จริง ๆ เหรอคะ หรือว่านำไปฝังดิน แต่ถ้าฝังดินก็ไม่เห็นว่ามันจะผูกมัดกับต้นไม้เลย พี่ดาวใจเลยบอกว่า ” ต้องใส่ไว้ในผ้าขาวแล้วทำเป็นกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นนำเชือกมามัดกับกระบอกไม้ไผ่แล้วค่อยนำไปผูกกับต้นไม้” ดังนั้นจึงทำให้ฉันเข้าใจทันที “แต่ก็น่าเสียดายไม่มีตัวอย่างให้ดู อย่างน้อยก็พอที่จะจินตนาการได้ว่ามีลักษณะอย่างไร” ฉันพูดกับพี่ดาวใจ

และจุดเด่นของการทำป่าสะดือเด็กที่ชุมชนห้วยหินลาดในนี่มีสิ่งที่ไม่เหมือนที่ไหน หรือที่อื่นอาจจะมีหรือไม่มี ไม่รู้ แต่ที่นี่ได้มีการทำสัญญาทำความเข้าใจกับทางโรงพยาบาลในการขอสายสะดือเด็กเพื่อมาผูกกับต้นไม้ เมื่อก่อนอาจจะขอไม่ได้ แต่ปัจจุบันได้มีการพูดคุยและทำความเข้าใจกันทำให้โรงพยาบาลได้มีการอนุญาตให้สายสะดือเด็กกลับมาบ้าน ่ดาวใจบอกว่า ” ปัจจุบันนี้หมอในโรงพยาบาลได้มีการเข้ามาในตัวของชุมชน ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับป่า

และหมอที่โรงพยาบาลได้มีการทำวิจัยอีกด้วย ที่หมอขึ้นมาศึกษา ทำความเข้าใจกับคนในชุมชน เพราะว่าการที่เอาสายสะดือเด็กกลับมาบ้านนั้นเป็นสิ่งไม่ดี และเป็นเชื้อโรคสกปรก แต่พอเวลาผ่านไปได้ทำความเข้าใจระหว่างกัน ทางโรงพยาบาลจึงอนุญาต และยังมาดูป่าสะดึกอีกด้วย เพราะว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ในการอนุรักษ์ป่า ป่าอยู่กับเราไปตลอดถ้ารู้จักวิธีอนุรักษ์ และใช้ในทางที่ดี ฉันเชื่อว่า “เราจะมีลมหายใจที่ดีในทุก ๆ วัน และตลอดไปในการอนุรักษ์ป่าที่ดี ”

ป่าสะดือเขียว.