Skip to main content

กลไกระหว่างประเทศ

กลไกระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง กระบวนการระหว่างประเทศหลักสำหรับความคิดริเริ่มนี้คืออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD)

โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังการรับรู้และการสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองและการกระทำของชุมชนท้องถิ่นในทุกระดับของการดำเนินการและการติดตามกระบวนการและพันธสัญญาของ CBD ทั่วโลก อีกทั้งมีส่วนร่วมในการวางแผนและติดตามระดับประเทศ

people standing in a group looking at the camera
Members of the Transformative Pathways project travelled to Thailand for the annual meeting. Photo by FPP.

Dashed line

กิจกรรม

Filter

IIFB representatives at COP16

ผลลัพธ์ของ COP16 สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น

การประชุมภาคีที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความห…
27.11.24

ปฏิญญาอีสักกาอู้ ขณะนี้มีพร้อมใน 12 ภาษา

มูลนิธิประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองเอเ…
03.07.24

โครงการปรับใหม่ เมษายน 2567

โครงการฉบับปรับใหม่นี้ จัดพิมพ์ในเดือนเมษายน …
11.04.24

ข้อมูลเพิ่มเติม

เพื่อเสริมการทำงานนี้ โครงการได้ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature – IUCN) ซึ่งเป็นกลุ่มของรัฐบาลและองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อพัฒนาการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ความร่วมมือที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เวทีระหว่างรัฐบาลว่าด้วยนโยบายวิทยาศาสตร์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ (IPBES)ซึ่งทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มนโยบายที่สนับสนุน CBD เช่นเดียวกับ ศูนย์ความแตกต่างด้านความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองและท้องถิ่น (Centers of Distinction on Indigenous and Local Knowledge – COD-ILK) องค์กรสุดท้ายนี้เป็นเครือข่ายของผู้นำชนเผ่าพื้นเมือง ผู้มีประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ และพันธมิตรต่างๆ ซึ่งส่งเสริมคุณค่าของความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น (IPLCs) ในเชิงวิทยาศาสตร์และนโยบาย

โครงการนี้ยังสนับสนุนการทำเครือข่ายและความรู้ด้านเทคนิค สำหรับสภาชนเผ่าพื้นเมืองระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (the International Indigenous Forum on Biodiversity – IIFB)ซึ่งเป็นเวทีสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองภายในกระบวนการ CBD และเป็นผู้ที่สามารถเสริมการรับรู้ถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก(Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework – GBF) ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

ในระดับโลก GBF เป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการทำงานของโครงการนี้ แต่วิธีการแปลกรอบการทำงานไปสู่ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นนั้นยังคงต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม การดำเนินการตามกรอบงานเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องการการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของชนเผ่าพื้นเมืองและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าจากรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อทำให้แน่ใจว่าสิทธิและผลงานของพวกเขาจะได้รับการยอมรับและยึดถือ

โครงการนี้ให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศโดยตัวแทนของชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมการทำงานที่กำลังดำเนินการอยู่ในระดับนานาชาติ ที่จำเป็นต่อการทำให้เกิดความสำเร็จและในการสนับสนุนการติดตาม การรายงาน และการพิสูจน์ยืนยันกรอบงาน GBF

woman looking at camera with fist up
Ogiek community member, Teresa Chemosop celebrates during community assemblies at Laboot, Mt. Elgon, Kenya. Photo by Shadrak Mutai/CIPDP