Skip to main content

สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT)

สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนของชนเผ่าพื้นเมืองที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยตัวแทนของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในสมาคม

IMPECT มุ่งเน้นงานพัฒนาประชากรของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงของจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ อาข่า บีซู ดาราอั้ง ม้ง ถิ่น คะฉิ่น ขมุ กะแย ลาหู่ ลีซู ลัวะ กะเหรี่ยง เมี่ยน มลาบรี ปะโอ และไทยใหญ่ โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้และชุมชนของพวกเขา ซึ่งต้องประสบพบเจอสถานการณ์และมีประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อนำความรู้และแนวทางปฏิบัติแบบดั้งเดิมไปใช้ในทุกด้านของงานพัฒนา

IMPECT ยังทำหน้าที่เป็นเลขาธิการเครือข่ายระดับประเทศหลายแห่ง อาธิ เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (the Network of Indigenous Peoples of Thailand – NIPT) และสำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (Office of the Council of Indigenous Peoples in Thailand – CIPT)

ประเทศ:•ประเทศไทย
เว็บไซต์ : IMPECT
X/Twitter: @ImpectTh
Facebook: @Impect

Using Maps to Address the Issue of Expanding Farming Areas.
Using Maps to Address the Issue of Expanding Farming Areas. Photo by IMPECT.
Formation of the Lua Network. Photo by IMPECT

Dashed line

งานหลักของ IMPECT:

  • การส่งเสริมสิทธิและคุ้มครองวิถีชีวิตชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง
  • การจัดการความรู้และเสริมศักยภาพ
  • สนับสนุนงานขบวนชนเผ่าพื้นเมืองและผลักดันนโยบาย
Using GPS for Community Land Surveys
Using GPS for Community Land Surveys. Photo by IMPECT.

Dashed line

บทบาทของ IMPECT ในโครงการเส้นทางการเปลี่ยนแปลง:

IMPECT ประสานงานการดำเนินโครงการใ งานก ารดำเนินโครงการใน 15 หมู่บ้านทที่อยู่ใน 2 ตำบลของอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีบทบาทหลัก (1) เพื่อส่งเสริมการใช้ความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Management – NRM) และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรของชนเผ่าพื้นเมืองและเครือข่าย รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับตัวและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนการวิจัย และงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการทำแผนที่ พัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับการจัดการร่วมในพื้นที่คุ้มครอง; สนับสนุนการวิจัยและงานวิชาการที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนที่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ การร่วมมือและสร้างเครือข่ายเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

Using GPS for Community Land Surveys
Meeting of the Association Members. Photo by IMPECT.

Dashed line

ที่เกี่ยวข้อง

Filter

ความเชื่อ ทรัพยากร และวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำแม่ยางมิ้น

ชุมชนในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ยางมิ้นที่มี…
24.07.24

วิถีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น ถึงฤดูกาลแห่งชีวิต ที่เปลี่ยนไป

เมื่อยามย่างเข้าสู่ฤดูฝน ต้นไม้ พืชพันธุ์ และ…
24.07.24

ปฏิญญาอีสักกาอู้ ขณะนี้มีพร้อมใน 12 ภาษา

มูลนิธิประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองเอเ…
03.07.24