Skip to main content

พันธมิตร/ภาคี

องค์กรชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่เป็นพันธมิตร (องค์กรภาคี)

โครงการเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเป็นความคิดริเริ่มร่วมกันที่นำโดยองค์กรชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆในสี่ประเทศทั่วเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา อ งค์กรเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนทั่วโลก

โครงการนี้ได้รับการออกแบบอย่างรอบคอบเพื่อเสริมสร้างและมีส่วนร่วมกับเครือข่ายอื่นๆทั่วโลก ในขณะที่สร้างความร่วมมือใหม่ๆ ในระหว่างการดำเนินการ

The Lisu Indigenous Peoples including men, women, youth, and children of Pang Sa village are performing their traditional dance. Pang Sa village is in the Chiang Rai Province of Thailand. Photo by Lakpa Nuri Sherpa, Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP)
The Lisu Indigenous Peoples including men, women, youth, and children of Pang Sa village are performing their traditional dance. Pang Sa village is in the Chiang Rai Province of Thailand. Photo by Lakpa Nuri Sherpa / Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP)
Samburu Indigenous Peoples doing Community Resource Mapping at Kiltamany. Photo by Indigenous Information Network (IIN)
Samburu Indigenous Peoples doing Community Resource Mapping at Kiltamany. Photo by Indigenous Information Network (IIN)
Zoraida Tinco Maldonado (40 years old), of the Quechua people, harvests corn on her farm at the end of June. Community of Hualla, Hualla district, Victor Fajardo province, Ayacucho region, Peru. Photo: Luisenrrique Becerra Velarde / CHIRAPAQ.
Zoraida Tinco Maldonado (40 years old), of the Quechua people, harvests corn on her farm at the end of June. Community of Hualla, Hualla district, Victor Fajardo province, Ayacucho region, Peru. Photo: Luisenrrique Becerra Velarde / CHIRAPAQ.

Dashed line

ทวีปแอฟริกา

โครงการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองเชพคิตาเล (Chepkitale Indigenous Peoples Development Project (CIPDP))

โครงการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองเชพคิตาเล (CIPDP) เป็นองค์กรชุมชนของคนชนเผ่าพื้นเมืองโอกีก (Ogiek) บนภูเขาเอลกอน (Elgon) ที่ทำงานเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนโอกีก ได้มีความสามารถในการรักษาไว้และคงอยู่ซึ่งที่ดินบรรพบุรุษของพวกเขา ณ ภูเขาเอลกอน ประเทศเคนยา

เครือข่ายข้อมูลชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Information Network – IIN)

เครือข่ายข้อมูลชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Information Network – IIN)ทำงานในประเด็นการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นที่ผู้หญิง เด็ก เยาวชน และกลุ่มคนที่เปราะบางอื่นๆ ในชุมชน IIN ตระหนักดีว่า “การอนุรักษ์และการปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากเราต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด

Dashed line

เอเชีย

เครือพันธมิตรเพื่อความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ (Indigenous Knowledge Philippines, Inc. – PIKP)

เครือพันธมิตรเพื่อความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ (Partners for Indigenous Knowledge Philippines, Inc.- PIKP) เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ของทั้งผู้มีความรู้ด้านชนเผ่าพื้นเมือง องค์กรต่างๆ นักวิจัย นักเขียน นักการศึกษา ศิลปิน และบุคคลทั่วไปในประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีความคิดริเริ่มในการส่งเสริมและเสริมสร้างความรู้ด้านชนเผ่าพื้นเมือง

สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT)

สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนของชนเผ่าพื้นเมืองที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยตัวแทนของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในสมาคม

สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Pgakenyaw Association for Sustainable Development – PASD)

มาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Pgakenyaw Association for Sustainable Development – PASD) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในปี 2552 โดยผู้นำชุมชนชาวปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยทำงานเพื่อ ฟื้นฟูกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมและส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้แบบดั้งเดิมไปยังคนรุ่นใหม่

Dashed line

ทวีปอเมริกา

รัฐบาลปกครองตนเองแห่งดินแดนแวมปิส (The Autonomous Territorial Government of the Wampis Nation – GTANW)

ชนเผ่าพื้นเมืองแวมปิส ก่อตั้งรัฐบาลปกครองตนเองแห่งดินแดนแวมปิส (The Autonomous Territorial Government of the Wampis Nation – GTANW) ในปี 2558 เพื่อปกครอง จัดการ และปกป้องดินแดนของตน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1,327,760 เฮกตาร์ของป่าฝนที่ราบลุ่มทั่วลุ่มน้ำซานติอาโก/เคานัส (Santiago/Kanus) และ โมโรนา/คันกะอิม (Morona/Kankaim) ทางตอนเหนือของในป่าอะเมซอนประเทศเปรู

ศูนย์วัฒนธรรมพื้นเมืองประเทศเปรู ชิราแพค (CHIRAPAQ Centre of Indigenous Cultures of Peru – CHIRAPAQ)

CHIRAPAQ คือการสร้างเงื่อนไขเพื่อชีวิตที่มีเกียรติสำหรับชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านข้อเสนอ ผ่านข้อเสนอที่เอื้อ ต่อความต่อเนื่องในการพัฒนาระบบชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง การส่งเสริมการ จัดการองค์กรและ ประเมินกระบวนการที่เป็นไปที่เป็นเชิงรุก การรณรงค์นโยบายระดับประเทศและระดับนานาชาติ และการวางตำแหน่งของวัฒนธรรมและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมระหว่างต่างวัฒนธรรมที่สำคัญ

Dashed line

พันธมิตรทั่วโลกที่ทำการสนับสนุน

โครงการเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเป็นการรวมตัวกันของพันธมิตรความร่วมมือระดับโลกที่ไม่เหมือนใคร พวก สนับสนุน พวกเขาช่วยเหลือ สนับสนุน และขยายงานที่ทำในระดับประเทศ และทำให้แน่ใจว่าการดำเนินการของโครงการจะส่งผลในระดับโลกและเกิดการถ่ายโอนความรู้ การทำงานร่วมกับพันธมิตรเหล่านี้ช่วยให้โครงการเข้าถึงเครือข่ายระดับโลกอันมีค่า ทำให้งานริเริ่มของโครงการที่ประสบความสำเร็จนั้นจะได้รับการขยายผลต่อไป

Group photo of the Transformative Pathways Annual Review and Planning Meeting, Included were community members from Thailand, indigenous representatives and staff from partners in Peru, Thailand, Philippines and Kenya, as well as staff from global supporting organizations. Chiang Mai, 2023. The purpose of the meeting was to strengthen the project, reflecting on the previous year, plan for the next, share workplans, participate in capacity-building sessions on CBD international policy processes, workshops on sharing biodiversity monitoring experiences, and advocacy strategies. Photo by PASD.
Group photo of the Transformative Pathways Annual Review and Planning Meeting, Included were community members from Thailand, indigenous representatives and staff from partners in Peru, Thailand, Philippines and Kenya, as well as staff from global supporting organizations. Chiang Mai, 2023. The purpose of the meeting was to strengthen the project, reflecting on the previous year, plan for the next, share workplans, participate in capacity-building sessions on CBD international policy processes, workshops on sharing biodiversity monitoring experiences, and advocacy strategies. Photo by PASD.
Jantanee and Nittaya (Mee) from IMPECT (Thailand) during a groupwork session at the Transformative Pathways Annual Meeting 2023. Photo by PASD.
Jantanee and Nittaya (Mee) from IMPECT (Thailand) during a groupwork session at the Transformative Pathways Annual Meeting 2023. Photo by PASD.

ศูนย์สหวิทยาการเพื่อศาสตร์เชิงอนุรักษ์แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford’s Interdisciplinary Centre for Conservation Science – ICCS)

เป็นกลุ่มวิจัยเชิงวิชาการที่ตั้งอยู่ในภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งทำงานเพื่อจัดการกับความท้าทายที่มนุษยชาติเผชิญในการหยุดยั้งการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติโลกศูนย์อนุรักษ์การตรวจสอบ (UN Environment Programme World Conservation Monitoring Centre – UNEP-WCMC)

ทำงานในการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ นโยบาย และการปฏิบัติเพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์ที่โลกกำลังเผชิญที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับผู้คนและโลกใบนี้

มูลนิธิเพื่อการประสานความร่วมมือชนเผ่าพื้นเมืองเอเชีย (Asia Indigenous Peoples Pact – AIPP)

มูลนิธิเพื่อการประสานความร่วมมือชนเผ่าพื้นเมืองเอเชีย (Asia Indigenous Peoples Pact – AIPP) เป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยการเคลื่อนไหวของชนเผ่าพื้นเมือง โดยการเคลื่อนไหวของชนเผ่าพื้นเมือง AIPP มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและสิทธิมนุษยชน และระบุประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง

ไลฟ์โมเสก (LifeMosaic)

LifeMosaic เป็นองค์กรที่อุทิศตนเพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์ในระดับรากหญ้าทั่วทั้งทวีป แบ่งปันเรื่องราวจากผู้ประสบวิกฤตสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเรื่องราวและกลยุทธ์ที่สร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างทักษะ ความหวัง และความยืดหยุ่น

แผนงานประชาชนผู้อาศัยอยู่ในผืนป่า (Forest Peoples Programme – FPP)

แผนงานประชาชนผู้อาศัยอยู่ในผืนป่า (Forest Peoples Programme – FPP) เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนร ประเทศที่ทำงานกับชนเผ่าพื้นเมืองและคนที่อาศัยอยู่ในผืนป่ามาตั้งแต่ปี 2533 20 ประเทศทั่วทั้งอเมริกาใต้และกลาง แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีพันธมิตรอยู่ในและรอบๆ แถบป่าเขตร้อน ภารกิจของ FPP คือการสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนชาวป่าในการรักษาสิทธิในที่ดินดั้งเดิมและการปกป้องป่าและวิถีชีวิตของพวกเขาที่นับวันจะถูกคุกคามมากยิ่งขึ้น