บทความบล็อกโดย ซูซานา นูเนซ เลนโด
แจเน็ต เชมไต แนะนำตนเองว่า: “ฉันเป็นตัวแทนของสตรีชนเผ่าพื้นเมืองทั้งหมดตลอดทั่วภูเขา” ภูเขาคือภูเขาเอลก็อน ที่เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วบนพรมแดนระหว่างยูกันดาและเคนยา เธอเป็นผู้นำชาวโอเกียก ประธานสภาสตรีเชปกิทาเลและได้รับการเลือกตั้งซ้ำหลายครั้งโดยการชูมือจากสตรีของชุมชนของเธอเป็นเวลาหลายปี
นับตั้งแต่สมัยอาณานิคม ชาวโอเกียกต้องเผชิญกับความพยายามที่จะขับไล่พวกเขาออกจากป่าบรรพชน ซึ่งมักจะอยู่ภายใต้หน้ากากของการปกป้องสิ่งแวดล้อม แจเน็ตจำได้ถึงช่วงเวลาที่บรรดาผู้ชายในชุมชนถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อบีบบังคับให้พวกเขาอพยพออกจากที่ดินของตน อันเป็นสถานการณ์สุดขั้วที่ผลักดันให้สตรีมีบทบาทที่แข็งขันมากขึ้นในการปกป้องชุมชน
“ฉันคิดว่าเป็นครั้งแรกที่พวกเราสตรีในชุมชนได้ตระหนักว่าเมื่อผู้ชายสามารถทำบางอย่างได้ ผู้หญิงก็สามารถทำได้ด้วย มีคำกล่าวว่า: สิ่งที่ผู้ชายสามารถทำได้ ผู้หญิงทำได้ดีกว่า” เธอกล่าวอย่างถ่อมตัวแล้วหัวเราะออกมา
ข้ออ้างที่ว่าชาวโอเกียกกำลังทำให้ที่ดินเสื่อมโทรมบางครั้งมาพร้อมกับข้อกล่าวหาว่าการมีอยู่ของพวกเขามีผลต่อสัตว์ป่า แจเน็ตกล่าวถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ:
“ในชุมชนนี้ เรามีสัตว์เลี้ยงอย่างวัว และสัตว์ป่า บางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราเข้าใกล้สัตว์ป่า แต่เราก็เคารพพวกมัน อีกทั้ง ผู้หญิงเราทำกิจกรรมในพื้นที่เฉพาะ ไม่ใช่เพียงที่ใดก็ได้: เราตระหนักว่าเราอาจทำอันตรายสิ่งแวดล้อมของเราได้”
ภูเขาเอลก็อนที่มองเห็นได้จากเชปกิทาเล เขตบุงโกมา ประเทศเคนยา เครดิตภาพ: ซูซานา นูเนซ เลนโด/FPP
“เมื่อสักพักใหญ่มานี้เอง พวกเราประมาณสี่สิบคนมาถึงที่เชปกิทาเลนี้ เราเพิ่งเต้นรำต้อนรับเสร็จไป”
หมู่บ้านของเธอกำลังจัดประชุมปฏิบัติการขยายพื้นที่ภูมิภาคอัฟริกาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในแนวนอนในหมู่ชนเผ่าพื้นเมืองอัฟริกันและชุมชนท้องถิ่นที่จัดขึ้นภายใต้กรอบงานของโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลง
เป็นโอกาสดียิ่งที่จะพูดคุยเกี่ยวกับศิลปะการสานตะกร้าที่นำโดยผู้หญิงของชาวโอเกียก
“นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่ไม่อาจจดจำได้ เราได้ใช้ตะกร้าเหล่านี้เพื่อเก็บหาอาหารของเรา ตอนนี้ ฉันกำลังจะใส่ส่วนของฉันลงไป ดูสิ”
ผู้หญิงแต่ละคนใส่ ‘สิ่งของของเธอ’ ไว้ในตะกร้า เป็นฟางกำหนึ่งเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมีส่วนที่สมาชิกแต่ละคนให้แก่ชุมชน เครดิตภาพ: ซูซานา นูเนซ เลนโด/FPP
ตะกร้าที่ถ่ายในภาพทำจากไม้ไผ่ที่เก็บหามาจากชายป่าไผ่ที่บรรดาช้างงามกินหญ้าอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก
“เราได้ใช้ตะกร้าใส่สินค้าไปยังตลาดเสมอมา และเราขายของเหล่านี้ในตลาด แต่เดี๋ยวนี้เรายังเริ่มใช้ตะกร้าเป็นถังขยะด้วย วิธีนี้ เราหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติกหรือภาชนะที่ก่อให้เกิดมลพิษในหมู่บ้าน […] ในชุมชนนี้ เราได้พิสูจน์แล้วว่าเรารู้ดีกว่าใคร ๆ ถึงวิธีการอนุรักษ์และการก้าวหน้า เราได้สืบทอดสภาพแวดล้อมนี้ และเราปกป้องมัน พวกผู้ชายของเราเก็บหาน้ำผึ้ง เราได้นมที่เพียงพอจากวัวของเรา ขายได้ และส่งลูก ๆ ไปโรงเรียน”
เมื่อชาวโอเกียกถูกบังคับขับไล่ ป่ไม้และบรรดาช้างก็ไม่ได้รับการคุ้มครองจากพวกเขาอีกเลย กลับเป็นว่าป่าถูกทำลายโดยการเผาถ่าน และตัดป่าเพื่อทำไร่นา และบรรดาช้างตกอยู่ภายใต้การคุกคามจากพวกลักลอบล่าสัตว์และทำลายที่อยู่อาศัยของพวกมัน
ในระหว่างการเยี่ยมเยียนของเรา พวกผู้หญิงสานตะกร้าด้วยกันเป็นครอบครัวในดินแดนบรรพชนของพวกเขา แบ่งปันเรื่องราว เรียนรู้ร่วมกัน หัวเราะกัน ใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนกับแผ่นดิน
คำพูดของแจเน็ตเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการดำรงชีวิตตามประเพณีของพวกเขาช่วยให้ชุมชนปกป้องผืนดินของบรรพชนได้อย่างไร กับทั้งธำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาตามประเพณีของพวกเขาในขณะที่ปรับตัวเข้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง นี่เป็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับบรรดาผู้ที่พยายามเข้าควบคุมเหนือที่ดิน เป็นการทำลายที่ดินเพื่อแสวงหาผลกำไรจากมัน
ชาวโอเกียก ในฐานะนักล่าและเก็บหาของป่า ใช้ตะกร้าที่ทำจากพืชเก็บรวบรวมผลไม้ เบอร์รี และอื่น ๆ แจเน็ตเชมไตเพิ่มส่วนแบ่งของเธอลงในตะกร้าไม้ไผ่เป็นสัญลักษณ์ อันแสดงถึงประเพณีการชุมนุมของผู้คนของเธอ เครดิตภาพ: ซูซานา นูเนซ เลนโด/FPP
ประเภท: บล็อก
ภูมิภาค: แอฟริกา
ประเทศ : นประเทศเคนยา
ประเด็นหลัก: การอนุรักษ์ที่นำโดยชุมชน : การดำรงชีพอย่างยั่งยืน : ความรู้ดั้งเดิมและความรู้ท้องถิ่น
Partner: Forest Peoples Programme; Chepkitale Indigenous Peoples Development Programme (CIPDP)