Skip to main content

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ราดิโย ซากาดา ซึ่งเป็นสถานีวิทยุชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองเพียงแห่งเดียวในจังหวัดภูเขา ของฟิลิปปินส์ ได้ให้การต้อนรับหุ้นส่วนวิถีการเปลี่ยนแปลงจากเคนยา ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับรายการสดพิเศษเกี่ยวกับหัวข้อการถ่ายทอดความรู้ของชนเผ่าพื้นเมือง ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองได้แบ่งปันมุมมองว่าด้วยบทบาทของเทคโนโลยี สื่อ การสื่อสาร และการเล่าเรื่องแบบสมัยใหม่ในการอนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้ชนเผ่าพื้นเมือง

ความสำคัญของการอนุรักษ์และส่งเสริมความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองได้รับการยอมรับจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) สำหรับบทบาทในการก้าวไปสู่โลกที่อยู่อาศัยอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ นี่เป็นงานสำคัญสำหรับโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลง

รายการวิทยุนำโดยเกวนโดลีน เกย์ เกยอนเก็น ผู้แทนของชนเผ่าพื้นเมืองกันกาไนเอยในฟิลิปปินส์และเป็นผู้จัดการสถานีของราดิโย ซากาดา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในเดือนมิถุนายน 2553

กอร์ดอน จอห์น โธมัส (PACOS Trust) และเจสัน เวอร์โซลา (PIKP) ที่ราดิโย ซากาดา ภาพโดย เอลลา คาริโน PIKP

บทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการถ่ายทอดความรู้ตามประเพณี

ช่วงแรกของรายการมีกอร์ดอน จอห์น โธมัส จากชาวดูซุน ตาตานา ในซาบาห์ มาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้แทน PACOS Trust และเจสัน เวอร์โซลา จาก หุ้นส่วนเพื่อความรู้ชนเผ่าพื้นเมือง ฟิลิปปินส์ (PIKP) เป็นผู้กล่าวถึงสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่างการยอมรับเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ในขณะที่พิทักษ์รักษาความรู้ตามประเพณี

กอร์ดอนได้เน้นถึงประโยชน์ของเวทีสื่อสังคม อาทิเช่น ติ๊กตอกและเฟซบุ๊ค ในการขยายเรื่องความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองสู่ผู้รับในวงกว้าง โดยตั้งข้อสังเกตว่าคนรุ่นใหม่กำลังใช้เวทีดิจิตัลดังกล่าวในการแบ่งปันมรดกทางวัฒนธรรมของตนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เขายังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้ความรู้นี้ในทางที่ผิดด้วย

“บทเพลงและลวดลายพื้นบ้านของเราได้ถูกลักขโมยไปโดยสื่อมวลชน นี่คือเหตุผลที่เราจำเป็นต้องมีอำนาจอธิปไตยทางข้อมูลและการคุ้มครองในหมู่ชนเผ่าพื้นเมือง เราต้องมีพิธีการเพื่อกำหนดว่าความรู้ใดบ้างที่สามารถแบ่งปันเป็นสาธารณะได้และสิ่งใดที่ต้องคงอยู่ในชุมชนของเรา การค้นหาสมดุลนี้เป็นเรื่องสำคัญ” – กอร์ดอน จอห์น โธมัส PACOS Trust

เจสันได้เสริมว่างานจัดทำเอกสารและบันทึกวัฒนธรรมและความรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองมิได้เป็นเพียงเกี่ยวกับการแบ่งปันเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการสนับสนุนความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของการมีส่วนของชนเผ่าพื้นเมืองอีกด้วย.

“เรา [เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง] อยู่ ณ ที่นี้ จัดทำเอกสารและบันทึกความรู้ของเรา ไม่เพียงเพื่อแบ่งปันเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้สาธารณชนเข้าใจธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างถ่องแท้” – เจสัน เวอร์โซลา PIKP

ความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ชนเผ่าพื้นเมือง

ช่วงที่สองของรายการได้นำเสนอ พนม ทาโน จากชาวกะเหรี่ยง ผู้เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (IMN) ในประเทศไทย ร่วมกับ เดซี่ โลชูลิต จากชาวโปก็อต ซึ่งเป็นผู้แทน เครือข่ายสารสนเทศชนเผ่าพื้นเมือง (IIN) ในเคนยา พนมและเดซี่ได้สำรวจประเด็นที่เหมือนกัน รวมทั้งบทบาทของการเล่าเรื่องและเทคโนโลยีในการอนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ดิน และความหลากหลายทางชีวภาพจากรุ่นสู่รุ่น

เดซี่ได้แบ่งปันว่าชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองขณะนี้กำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อบันทึกธรรมเนียมมุขปาฐะได้อย่างไร เพื่อป้องกันความรู้โบราณมิให้สูญหายไปตามกาลเวลา

“ในชุมชนของเรา ผู้อาวุโสเคยถ่ายทอดความรู้ของตนด้วยการบอกเล่า เมื่อเป็นการบอกเล่าด้วยวาจา จึงสามารถสูญหายไปได้ในกระบวนการ ดังนั้น สิ่งที่เราทำตอนนี้คือ เราใช้เทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์ความรู้นี้ เราไปเยี่ยมย่ายาย พวกเขาเล่าเรื่องราวให้เราฟัง และเราบันทึกเรื่องราวเหล่านี้โดยใช้เทคโนโลยีใหม่” – เดซี่ โลชูลิต IIN

เธอยังได้เน้นโดยผ่านความคิดริเริ่มของวิถีการเปลี่ยนแปลงถึงการมีความชื่นชอบมากขึ้นของความจำเป็นที่เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองจะได้เรียนรู้จากผู้อาวุโส เป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างรุ่น คน และส่งเสริมการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ที่สำคัญสำหรับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

เดซี่ โลชูลิต (INN) และพนม ทะโน (IMN) ณ ราดิโย ซากาดาชุมชน ภาพโดย เอลลา คาริโน PIKP

พนมเน้นว่าความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญไม่เพียงแต่สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองเท่านั้น แต่ยังสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล โดยเน้นถึงบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

“คุณค่าของความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองไม่เพียงแต่เพื่อความอยู่รอดของผู้คนของเราเท่านั้น แต่ยังสำหรับทั้งโลก – สำหรับธรรมชาติ สัตว์ป่าและระบบนิเวศ รายงานจำนวนมากโดยนักวิชาการ นักวิจัย และองค์การระหว่างรัฐบาลพิสูจน์ว่าธรรมชาติยังคงสมบูรณ์ที่สุดในที่ที่ชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่ นี่จึงเป็นเหตุผลที่การถ่ายทอดความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญ” – พนม ทะโน IMN

เขายังได้เน้นถึงความสำคัญของสื่อและการสื่อสารในการสนับสนุนสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองและการยอมรับพวกเขา

“ในประเทศไทย เรามีส่วนอย่างแข็งขันในการสนับสนุนสื่อและการสื่อสาร เราพยายามเข้าถึงสาธารณชนเพื่อให้สังคมไทยสามารถเข้าใจและยอมรับวิถีชีวิตแบบชนเผ่าพื้นเมืองของเราได้ สื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าประสงค์นั้นได้” – พนม ทะโน IMN
โดยสรุป ผู้ดำเนินรายการ เกวนโดลีน เกย์ เกออนเก็น ได้สะท้อนถึงความสำคัญของการแบ่งปันมุมมองในหมู่ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมือง และความสำคัญของความรู้ชนเผ่าพื้นเมือง

“การพูดคุยกับชนเผ่าพื้นเมืองอื่น ๆ จากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เคนยา และไทย ทำให้ฉันภูมิใจที่ได้เป็นชนเผ่าพื้นเมือง เพราะว่า ดังที่พวกเขาได้กล่าวไว้ เรามีบทบาทในสังคมของเรา และมันไปไกลกว่าชุมชนของเรา มันเป็นส่วนหนึ่งของการกอบกู้โลก ไม่เพียงแต่สำหรับเราเท่านั้น แต่ยังสำหรับคนรุ่นต่อไปอีกด้วย

“เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะยังคงแบ่งปันความรู้[ชนเผ่าพื้นเมือง]ของเราต่อไป เพื่อที่คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ชนเผ่าพื้นเมืองจะได้ยอมรับและสนับสนุนเรา เนื่องจากการต่อสู้ของชนเผ่าพื้นเมืองจะยากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเคลื่อนย้ายแร่ธาตุ และความหิวกระหายที่เพิ่มขึ้นในทรัพยากรของเรา” – เกวนโดลีน เกย์ เกออนเก็น จากชาวกันกาไนเอย ผู้จัดการสถานีของราดิโย ซากาดา

โปรดดูบันทึกการสัมภาษณ์ฉบับเต็มขอ งกอร์ดอนและเจสัน แล และเดซี่และพน
และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราดิโย ซากาดา ผ่านหน้า เฟ ซบุ๊ค ของพวกเขา.