กรอบความหลากหลายทางชีวภาพโลกคุนหมิง-มอนทรีล (KMGBF) ซึ่งรับรองโดยภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ในปี 2565 ตระหนักถึงบทบาทสำคัญและการมีส่วนของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้พิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและในฐานะหุ้นส่วนในงานอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้อย่างยั่งยืน โดยระบุว่า “การดำเนินการตามกรอบการทำงานต้องให้แน่ใจว่าสิทธิ ภูมิปัญญา รวมทั้งภูมิปัญญาตามประเพณีที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพ นวัตกรรม โลกทัศน์ คุณค่า และการปฏิบัติของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นได้รับการเคารพ และจัดทำเอกสารและอนุรักษ์ด้วยความเห็นชอบโดยอิสระ ล่วงหน้า และได้บอกแจ้ง” ยิ่งกว่านั้น กรอบงานได้กำหนดภาระผูกพันสำหรับรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล การเข้าถึงความยุติธรรมและสารสนเทศ สิทธิของพวกเขาในวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และที่ดิน กับทั้งการคุ้มครองนักปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่
ด้วยการยอมรับ KMGBF ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์กำลังดำเนินการตามกระบวนการของตนเองในการปรับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพฟิลิปปินส์ (PBSAP) ให้สอดคล้องกับกรอบงานระดับโลกใหม่ ชนเผ่าพื้นเมืองและองค์กรอื่น ๆ มองว่าความพยายามนี้เป็นโอกาสสำคัญในการสนับสนุนร่วมกันสำหรับนโยบายและการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีประสิทธิผลและครอบคลุม ในขณะที่ยอมรับในสิทธิ พันธกรณี และการมีส่วนของชนเผ่าพื้นเมืองในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้อย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ ด้วยจิตวิญญาณนี้ องค์กรชนเผ่าพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ผู้แทนชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน ขบวนการประชาชน และบุคคลต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของชนเผ่าพื้นเมือง (IPBSAP)
IPBSAP เป็นเอกสารที่ก้าวหน้าเป็นครั้งแรกในประเภทนี้ ทำหน้าที่เป็นดั่งพันธกรณีร่วมกันของชนเผ่าพื้นเมืองเกี่ยวกับบทบาทของพวกเขาและความรับผิดชอบ ภูมิปัญญาตามประเพณี คุณค่า สิทธิและความสัมพันธ์ระหว่างกันกับเขตแดนและความหลากหลายทางชีวภาพของตน ระบุปัจจัยคุกคามและข้อท้าทายที่ชนเผ่าพื้นเมืองประสบในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้อย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ ทั้งวิเคราะห์นโยบาย การบริหารจัดการ และภูมิทัศน์ทางการเงินในส่วนที่เราดำเนินการ โดยกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมที่แนะนำ พันธกรณีและปฏิบัติการที่ดีของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองไปสู่การมีส่วนในการบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายของ KMGBF ภายในปี 2583 (2040) อีกทั้งยังรวมอยู่ใน IPBSAP ถึงบันทึกแนะแนวซึ่งจัดทำและอนุมัติโดยผู้เข้าร่วมการอภิปรายโต๊ะกลมระดับชาติครั้งที่ 2 ว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการทบทวนและดำเนินการของ PBSAP
IPBSAP มีโครงสร้างตามหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพของฟิลิปปินส์ปี 2561-2571 (2018-2028) รวมถึงภาพรวมของสถานะความหลากหลายทางชีวภาพในเขตแดนของชนเผ่าพื้นเมือง โลกทัศน์การพัฒนาของชนเผ่าพื้นเมือง นโยบาย การบริหารจัดการ และสภาพแวดล้อมทางการเงินที่ส่งผลต่อชนเผ่าพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ และการกวาดมองตัวขับเคลื่อนหลักของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในเขตแดนของพวกเขา
เป็นการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกิจกรรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองมุ่งมั่นที่จะมีส่วนไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายของ KMGBF และ PBSAP การจัดวางโครงสร้างดังกล่าวเป็นความพยายามอย่างมีสำนึกในส่วนขององค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ IPBSAP สอดคล้องกับพันธกิจของรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในการกำหนดเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ การกำกับติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับแนวทางของทั้งรัฐบาลและทั้งสังคม