Skip to main content

ประเทศไทย

โครงการวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นไปที่การสร้างแบบจำลองที่หลากหลายของการกำกับดูแลและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนโดยชุมชน บนพื้นฐานของปฏิสัมพันธ์ที่มีพลวัตระหว่างภูมิปัญญาตามประเพณีและท้องถิ่นกับแนวทางของนิเวศวิทยาเกษตรเชิงนวัตกรรม

ผู้เข้าร่วมหลักในโครงการของประเทศนี้ คือ 23 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำย่อย ครอบคลุม 2 จังหวัด คือ เชียงใหม่ และเชียงรายภาคเหนือของประเทศไทย

โครงการในประเทศไทยดำเนินการโดย 2 องค์กร ได้แก่ สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Pgakenyaw Association for Sustainable Development – PASD) และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (The Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association – IMPECT)

Dashed line

กิจกรรม

Filter

ความเชื่อ ทรัพยากร และวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำแม่ยางมิ้น

ชุมชนในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ยางมิ้นที่มี…
24.07.24

วิถีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น ถึงฤดูกาลแห่งชีวิต ที่เปลี่ยนไป

เมื่อยามย่างเข้าสู่ฤดูฝน ต้นไม้ พืชพันธุ์ และ…
24.07.24

โครงการปรับใหม่ เมษายน 2567

โครงการฉบับปรับใหม่นี้ จัดพิมพ์ในเดือนเมษายน …
11.04.24

ปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูต้นน้ำและลำห้วยของชุมชนชาวปกาเกอะญอ

ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตป่าฝนเขตร้อน ังนั้นในอ…
09.04.24

ลมหายใจที่ดี กับการมีป่าสี

เราทุกคนต่างเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับป่าสะด…
09.04.24

ข้อมูลเพิ่มเติม

กิจกรรมหลัก

  • การฟื้นฟูและ/หรือการเพิ่มพูนระบบนิเวศป่าไม้ การหารายได้ในท้องถิ่นจากอาหาร ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์จากป่าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไม้
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการปกครองดินแดน รวมถึงการฟื้นฟูสถาบันจารีตประเพณีหรือท้องถิ่น และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายลุ่มน้ำและเครือข่ายไร่หมุนเวียนภาคเหนือ
  • การติดตามและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพโดยชุมชน และการถ่ายทอดความรู้ดั้งเดิมรวมทั้งแนวทางปฏิบัติให้กับเยาวชน
  • การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยและคุณูปการของพวกเขาต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • การสร้างความตระหนักรู้ให้กับสาธารณชนผ่านการทำงานร่วมกับสื่อและภาคส่วนอื่นๆ (เช่น ผู้หญิงและเชฟรุ่นใหม่/ผู้สร้างธุรกิจเพื่อสังคมโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น)
  • การมีส่วนร่วมในกระบวนการระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Planting in the Lisu Community Forest, Thailand
Planting in the Lisu Community Forest. Photo by IMPECT
Herb Processing of Ban Huai E Kang Women's Group, Thailand.
Herb Processing of Ban Huai E Kang Women’s Group. Photo by Arisa/PASD