มูลนิธิประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองเอเชีย (AIPP) ได้จัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างวันที่ 5 – 8 พฤศจิกายน 2023 ที่จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมระดับภูมิภาคครั้งแรกภายใต้โครงการวิถีการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่ของ AIPP
ผลลัพธ์ที่สำคัญของการประชุมคือ การยอมรับปฏิญญาอีสักกาอู้ คำว่า “อีสักกาอู้” เป็นคำที่ใช้โดยชนเผ่าพื้นเมืองชาวอุรักลาโว้ยเพื่ออ้างถึงสถานที่บรรพบุรุษของพวกเขาที่ตั้งรกรากเป็นครั้งแรกบนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ชื่อนี้หมายถึงเหงือกของปลากระเบนราหู
คำประกาศอันทรงพลังนี้ขยายเสียงของชนเผ่าพื้นเมือง สตรีชนเผ่าพื้นเมือง เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง และผู้พิการชนเผ่าพื้นเมืองจาก 11 ประเทศ คำประกาศนี้สรุปจุดยืนโดยรวมของชนเผ่าพื้นเมืองในการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันสำหรับข้อกังวลเร่งด่วน และปัญหาที่พวกเขาเผชิญร่วมกับมนุษยชาติทั้งหมด อาทิเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิอากาศ และวิกฤติด้านมลพิษ
บรรดาหุ้นส่วนท้องถิ่นของโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ได้รับสำเนาเอกสารปฏิญญาเป็นภาษาไทยและภาษาอิโลคาโน และได้เริ่มใช้ในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและในงานสนับสนุน
ปฏิญญาอีสักกาอู้ ขณะนี้มีพร้อมใน 12 ภาษา:
- บาฮาซา (มาเลย์เซีย)
- เบงกาลี
- พม่า
- อังกฤษ
- ฮินดี
- อีโลคาโน
- ขแมร์
- นปาลี
- สเปนิช
- สวาฮีลี
- ไทย และ
- เวียดนาม
ประเภท: บทความ ภูมิภาค: เอเชีย:ประเทศ: ไทย, ฟิลิปปินส์หัวข้อ: กลไกระหว่างประเทศ; ความรู้ดั้งเดิมและความรู้ท้องถิ่น; การอนุรักษ์ที่นำโดยชุมชน; สิทธิที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและทรัพยากร; การติดตามตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพพันธมิตร: Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP), Inter Mountain Peoples Education and Culture in Thailand Association (IMPECT), Pgakenyaw Association for-Sustainable Development (PASD), Partners for Indigenous Knowledge Philippines (PIKP), แผนงานประชาชนผู้อาศัยอยู่ในผืนป่า (Forest Peoples Programme – FPP)