Skip to main content

กรอบงานดังเช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) และกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพโลกคุนหมิง-มอนทรีล (KMGBF) ได้กำหนดเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเป้าประสงค์หลักในการอยู่ร่วมอย่างประสานสอดคล้องกับธรรมชาติภายในปี 2050 (พ.ศ. ๒๕๙๓) อย่างไรก็ตาม การขาดความสอดคล้องกันของนโยบายระหว่างพันธกรณีระหว่างประเทศเหล่านี้และกฎหมายระดับชาติบ่อนทำลายศักยภาพของประเทศต่างๆ ในการดำเนินการและทำให้พันธกรณีเหล่านี้บรรลุอย่างมีประสิทธิผล แม้กระนั้น ชนเผ่าพื้นเมืองกำลังสร้างแผนการกำหนดตนเองและกำลังทำงานในระดับพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้

เมื่อวันที่ 15 -16 พฤษภาคม 2568 PIKP ร่วมกับบริการการตอบสนองและพัฒนาภัยพิบัติคอร์ดิลเลรา (Cordillera Disaster Response and Development Services – CorDis RDS) ได้จัดการ ‘ฝึกอบรมคอร์ดิลเลราว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ’ เพื่อรวบรวมหุ้นส่วนที่งานของพวกเขามีส่วนอย่างยิ่งในการจัดการกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับโลก ในการฝึกอบรมคอร์ดิลเลราว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนและวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับกรอบงานระหว่างประเทศเหล่านี้จะสามารถใช้เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่งานชุมชน การสนับสนุน และกระบวนการวางแผนได้อย่างไร

ผู้เข้าร่วมได้ยืนยันว่าชนเผ่าพื้นเมืองเป็นตัวอย่างของความหมายของการอยู่ร่วมอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ กรอบงานระหว่างประเทศที่ได้อภิปรายกันในช่วงการฝึกอบรมได้เสนอโอกาสอันมีคุณค่าสำหรับผู้เข้าร่วมในการสะท้อนว่าพวกเขาสามารถสนับสนุนกระบวนการท้องถิ่นและการดำเนินงานตามนโยบายหลักของความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร ในขณะเดียวกันยังได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่ความพยายามและการสนับสนุนที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน สำหรับชนเผ่าพื้นเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพมีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และภาษา ผลที่เกิดขึ้น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพยังคุกคามความอยู่รอดของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาระหว่างรุ่นคน วลีที่ว่า “ที่ดินคือชีวิต” สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งนี้ ที่เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของที่ดินในวิถีชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองที่ยั่งยืน