ชุมชนในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ยางมิ้นที่มีกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองปกาเกอะญอและลาหู่ ที่ยังคงวิถีชีวิตดั่งเดิม ที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่าทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรานั้น มีเจ้าที่คุ้มครองปกป้องรักษา ในช่วงเดือน 9 เหนือ (มิถุนายน) ของทุกปี จะมีฤดูกาลพิธีกรรม ได้แก่ เลี้ยงผีเสื้อบ้านและเลี้ยงผีฝายผีขุนน้ำของชุมชน เพื่อปกปักรักษาคนในชุมชนและพื้นที่ป่าและต้นน้ำของชุมชน
“เลี้ยงผีเสื้อบ้าน” เชื่อว่าผีเสื้อบ้านเป็นผีเจ้าที่หรือผีบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาทุกคนในหมู่บ้าน และถ้าใครทำผิดผีก็ต้องมีการมาทำพิธีขอขมาตรงพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์นี้ การเลี้ยงผีเสื้อบ้าน เพื่อการปกป้องพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนที่คอยปกป้องคุ้มครองชาวบ้านและเพื่อสืบสานวัฒนธรรมพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ให้คงอยู่
ประเภท: บทความ
ภูมิภาค: เอเชีย
ประเทศ:•ประเทศไทย
หัวข้อ:ภู มิปัญญาดั้งเดิมและท้องถิ่น สิทธิในที่ดินและทรัพยากร
พันธมิตร : สมาคมการศึกษาและวัฒนธรรมชนเผ่าอินเตอร์ภูเขาในประเทศไทย (IMPECT)
ก่อน 1 วัน ทุกหลังคาเรือนจะเก็บข้าวสาร โดยคนเก็บข้าวสารต้องเป็นผู้ชายที่โสดเท่านั้น เพื่อนำมาต้มเหล้าพิธีกรรม ซึ่งการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเป็นพิธีเลี้ยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครองชาวบ้าน ชาวบ้านทุกครัวเรือนจะนำไก่ โดยต้องเป็นไก่ที่ไม่มีขนสีขาวและฟืนมาต้มครัวเรือนละ 1 ตัว นำมารวมบริเวณหน้าหอผีเสื้อบ้านหรือบ้านผู้นำพิธีกรรมก่อน แล้วไปยังพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อถวายพร้อมกัน โดยจะมีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่ได้เข้าไปยังพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ได้ โดยกลุ่มผู้หญิงจะเตรียมอาหาร ไก่ต้มที่แต่ละครัวเรือนนำมาประกอบเป็นอาหาร การกินเหล้าพิธีกรรมและอาหารร่วมกัน เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต พิธีกรรมการเลี้ยงผีเสื้อบ้าน เป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งจะมีการจัดพิธีกรรมใน เดือน 9 เหนือ (มิถุนายน) ของทุกปี โดยชาวบ้านเชื่อว่าผีเสื้อบ้านเป็นผีเจ้าที่หรือผีบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาทุกคนในหมู่บ้าน และถ้าลูกหลานได้เดินทางไกลก็จะมีการขอพรเพื่อขอให้เดินทางปลอดภัย ขอให้สอบผ่าน ขอการปกป้อง ถ้าทำผิดผีก็ต้องมีการมาทำพิธีขอขมาตรงพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมนี้เป็นการปกป้องพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านที่คอยปกป้องคุ้มครองชาวบ้านและเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการรักษาพื้นที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ให้คงอยู่
Type: Type
Region: Region
Country: Country
Theme: Theme
Partner: Partner name
Tags: Tag one, Tag two
“เลี้ยงผีฝายผีขุนน้ำ” ที่บอกกล่าวไว้ว่า “ขอบันดาลให้สายน้ำสายฝนตกลงมา เพื่อจะให้น้ำในแม่น้ำลำธารเต็มอุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อการนำไปเลี้ยงข้าวในนา ให้ต้นข้าวแข็งแรงตลอดฤดูกาล” เพื่อขอพรให้เกิดสิ่งดีงามแก่ทุกคนที่เป็นเกษตรกรขอให้ผลผลิตเต็มไร่เพราะผีได้เครื่องเซ่นไหว้ไปแล้ว การทำพิธีกรรมจะสร้างศาลเพียงตาขึ้นใกล้บริเวณ ฝายหรือขุนน้ำลำธาร ชาวบ้านจะนำเอาเครื่องถวาย พิธีกรรมนี้เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและรักษาระบบนิเวศเนื่องจากทำให้คนในหมู่บ้าน มีความรักต้นน้ำลำธารเนื่องจากมีความเชื่อที่ว่า ป่าต้นน้ำลำธารมีเทวดาปกป้องรักษาดูแลอยู่ จะทำลายหรือทำให้เสียหายไม่ได้ จึงเกิดความเกรงกลัวที่จะทำให้เสียหาย จึงเป็นวิธีการรักษาป่าต้นน้ำของชาวบ้านเพื่อไม่ให้ถูกทำลาย
Type: Type
Region: Region
Country: Country
Theme: Theme
Partner: Partner name
Tags: Tag one, Tag two
ซึ่งเป็นพิธีกรรมของชุมชน ที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ทรัพยากรและความเชื่อ เป็นกุศโลบายในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนและพื้นที่ป่าต้นน้ำ แหล่งน้ำที่ชุมชนต้องใช้ และเป็นการถ่ายทอดสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านตามความเชื่อดั่งเดิมของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ยางมิ้น
Type: Type
Region: Region
Country: Country
Theme: Theme
Partner: Partner name
Tags: Tag one, Tag two