Skip to main content

บล็อกโดยฟลอเรนซ์ ดากุยตัน

จนถึงทศวรรษ 1980 การผลิตอาหารของชาวปาเยวมีเพียงพอและหลากหลาย พวกเขายังได้ส่งออกกล้วยและข้าวส่วนเกินบางส่วนของตน อาหารของพวกเขาส่วนใหญ่มาจากฟาร์ม เพาะปลูกของตน: บานกันและปาเยว บานกันตั้งอยู่ภายในบริเวณอยู่อาศัยรวมถึงบรรดาที่อยู่โดยรอบบ้านเรือน ตามประเพณีแล้ว บ้านเรือนจะล้อมรอบด้วยพืชผลเช่นสมุนไพร ไม้ผล พืชลงหัว พืชผักใบ และพืชสมุนไพร อาจพบคอกหมูหนึ่งถึงสามคอกกับทั้งเล้าไก่และสัตว์ปีกอื่น ๆ เช่นเป็ด ไร่ที่ใช้ปลูกมันเทศเป็นหลักก็เรียกว่าบานกันด้วยที่ปลูกคละกับพืชตระกูลถั่ว ฟัก ข้าวโพด และพืชผักเช่น กะหล่ำจีน (pechay) ถั่ว และมันฝรั่ง

ปาเยวคือไร่ข้าวระบบชลประทานที่ปลูกร่วมกับพันธุ์ข้าวตามประเพณีและเผือก ถั่วต่าง ๆ ผักใบ และมันเทศ ปาเยวยังทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ ครึ่งบกครึ่งน้ำ และที่ไม่อยู่กับน้ำ เช่น แมลง ปู และกบ

อุมาเป็นการทำไร่หมุนเวียนแบบไม่ไถพรวนที่ใช้ไฟในการปลูกพืชอาหารที่หลากหลาย พวกเขา ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัวเป็นส่วนหนึ่งของป่าหรือปล่อยให้ที่ดินพักและกลับมาใช้เพาะปลูกอีกหลังจากความอุดมสมบูรณ์ของดินฟื้นฟูกลับมา

อาหารเสริม อาทิเช่น เห็ด ผลเบอร์รี่ป่า พืชผักผลไม้ป่าเก็บหามาจากป่า: ในบาตังกัน (ป่าสน) และในปักปัก (ป่าไม้ใบกว้าง) ในแม่น้ำกินาวังมีปลาและปูสามสายพันธุ์

การรักษาความอุดมของดินทำโดยผ่านการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่เรียกว่าลูบ็อกในบานกัน และเรียกสุวัตในปาเยว พรรณพืชที่ปลูกตามธรรมชาติรอบฟาร์มจะถูกตัดฟันและผสมเข้ากับดินเพื่อหล่อเลี้ยงและบำรุงดิน มีการทำปุ๋ยหมักด้วย ประมาณครึ่งหนึ่งของคอกหมูถูกใช้เป็นห้องน้ำหมูที่ขยะชีวภาพที่ย่อยสลายได้ทั้งหมดถูกสะสมไว้ และพืชผักที่อยู่รอบบ้านและทานตะวันป่าถูกตัดโดยเจตนาเพื่อเพิ่มเข้าไปเป็นระยะ ๆ ทุกปี หลุมปุ๋ยหมักนี้จะถูกนำไปใส่ในบานกันและปาเยว

ที่ปลูกฝังอยู่ในระบบอาหารตามประเพณีของชาวปาเยวคือคุณค่าและการปฏิบัติของการแบ่งปันความรู้ เมล็ดพันธุ์ และการเก็บเกี่ยว การดูแลดิน ไร่นา ป่าไม้ และแม่น้ำที่ให้แนวทางโดยหลักการของอินายันและลาวา หรือ “ไม่ทำอันตราย” การช่วยเหลือกันและกันในรูปแบบของอับโบ (การแลกเปลี่ยนแรงงาน) และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ และการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อาทิเช่น การบำรุงรักษาทางเดินและเหมืองฝาย

การทำนายังช่วยรักษาจิตวิญญาณของชนเผ่าพื้นเมืองโดยการเตือนผู้คนว่าเราอยู่อาศัยกับขวัญ วิญญาณของธรรมชาติที่มองไม่เห็น และที่เราต้องเคารพที่อยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอยู่ทั่วเขตแดน สำหรับทุกขั้นตอนของชีวิตต้นข้าว เหล่าผู้อาวุโสมีการสวดเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงภายในเขตแดน

วิญญาณของธรรมชาติที่มองไม่เห็น และที่เราต้องเคารพที่อยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอยู่ทั่วเขตแดน สำหรับทุกขั้นตอนของชีวิตต้นข้าว เหล่าผู้อาวุโสมีการสวดเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงภายในเขตแดน

“เคยมีเวลาที่เมื่อเราปลูกสิ่งที่เรากิน เรารู้ดีถึงสิ่งที่ใส่ลงในพืชของเรา ขณะที่หากเราต้อง. พึ่งพิงตลาดสำหรับอาหารของเรา เราไม่รู้ว่าอาหารที่เราซื้อนั้นใส่อะไรลงไป เป็นความเป็นจริงในปัจจุบันที่โรคภัยมากมายเกิดขึ้นที่เราไม่รู้จัก เราควรส่งเสริมการทำฟาร์มให้เป็นอาชีพที่สูงส่ง เราควรละเว้นจากการพูดว่าเราไม่ได้รับอะไรจากการทำฟาร์มเนื่องจากนี่เป็นข้อความที่ผิด มีบางสิ่งบางอย่างเสมอจากการทำฟาร์ม ถ้าเราดูแลที่ดิน มันก็จะตอบแทนให้เรา” – มานัง แพนซี เกษตรกรปาเยว

สมาชิกขององค์กรเกษตรกรชนเผ่าพื้นเมืองปาเยว (PIFO) มีมติที่จะฟื้นฟูระบบการผลิตอาหารชนเผ่าพื้นเมืองของตน ขั้นแรกที่พวกเขาทำคือการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยผ่านสุวัตและลูบ็อก และใช้นวัตกรรมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อหล่อเลี้ยงดินให้มีชีวิตและฟื้นฟูความอุดมของดิน พวกเขากำลังวางแผนที่จะห้ามใช้ยาปราบศัตรูพืชในเขตแดนของตนโดยผ่านมติบารังไก และเสริมศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้แก่ชุมชนเกี่ยวกับความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพดินและเกษตรกรรมยั่งยืน