Skip to main content

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๘ หุ้นส่วนสิบสามคนของคณะผู้ร่วมงานวิถีการเปลี่ยนแปลงได้มารวมตัวกันที่ฟิลิปปินส์เพื่อเข้าร่วมการประชุมประจำปีเป็นตัวบุคคลครั้งที่สามของโครงการ ที่จัดโดยหุ้นส่วนเพื่อภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองฟิลิปปินส์ (PIKP).

การมารวมตัวกันเกิดขึ้นในภูมิภาคคอร์ดิลเลร่า อันเป็นใจกลางของฟิลิปปินส์ภาคเหนือ โดยเริ่มขึ้นในเทศบาลเมืองซากาดา จังหวัดภูเขา และต่อเนื่องไปยังเมืองบาเกียว งานนี้ได้นำผู้เข้าร่วมมารวมกันมากกว่า ๕๐ คน รวมทั้งผู้แทนจากหุ้นส่วนระดับประเทศทั้งหมด ได้แก่ เคนย่า ไทย เปรู มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ร่วมกันหุ้นส่วนในท้องถิ่นของ PIKP และสมาชิกของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง

ประเด็นหลักของการประชุมในปีนี้คือ การสื่อสารและการถ่ายทอดภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ได้รับการสำรวจผ่านการนำเสนอที่สร้างแรงบันดาลใจ การแลกเปลี่ยน และการเยี่ยมเยียนชุมชน

การต้อนรับด้วยพิธีกรรม

การประชุมเปิดขึ้นในซากาดาด้วยพิธีกรรมตามประเพณีที่นำโดย อามา ติกันโอ ผู้อาวุโสจากชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองกานกาไนเอย ผู้อาวุโสได้เริ่มโดยการเชิญผู้เข้าร่วมให้เกียรติในความสัมพันธ์ของตนกับธรรมชาติและระหว่างกัน โดยเน้นถึงความสำคัญของการรักษาความสมานฉันท์ในความสัมพันธ์ของเราทั้งหมด เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งโอกาสนี้ พิธีกรรมการแบ่งปันข้าวและเหล้าเป็นสัญลักษณ์ของเอกภาพในบรรดาผู้เข้าร่วมและนำเสนอลางดีสำหรับการประชุมที่เหลือ

“ความสัมพันธ์ทั้งหมดของเรา – กับสิ่งแวดล้อม กับบรรพบุรุษของเรา กับวัฒนธรรมและความเชื่อของเราและกับสิ่งที่มองไม่เห็น ได้สร้างสรรค์คุณค่าของเรา หากท่านถูกแยกออกจากองค์ประกอบเหล่านี้ ท่านก็จะถูกยั่วยวนให้ถูกฉ้อฉลและถูกแสวงประโยชน์ นี่คือเหตุผลที่เราต้องรักษาความสัมพันธ์เหล่านี้ทั้งหมดเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่กลมกลืนกับธรรมชาติ” – อามา ติกันโอ คำกล่าวเปิดของผู้อาวุโสชุมชนกานกะไนเอย

Photo by Claudia Faustino, UNEP-WCMC

ในอีกสองวันข้างหน้า หุ้นส่วนโครงการแต่ละรายได้นำเสนอกิจกรรมที่พวกเขาได้ดำเนินการภายในโครงการในปีที่แล้ว โดยแสดงให้เห็นว่างานของพวกเขาได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้อย่างยั่งยืน และแผนที่พวกเขามีสำหรับปี ๒๕๖๘

นี้ AIPP จะมุ่งเน้นไปที่สตรีชนเผ่าพื้นเมือง จะมีการแบ่งปันภูมิปัญญาและเอกสารวีดีทัศน์จำนวนมากที่มุ่งเน้นความเป็นผู้นำของสตรีชนเผ่าพื้นเมืองในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ” – แบ่งปันโดยลักปา นูริ เชอร์ปา จาก AIPP

 

“โดยผ่าน วิถีการเปลี่ยนแปลง เรากำลังจะพัฒนาสื่อการเรียนรู้ว่าด้วยภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองและโดยสัมพันธ์กับงานอนุรักษ์ที่นำโดยชุมชน” – เฟรด คิเบลิโอ จาก CIPDP กล่าว

ขณะที่อยู่ในซากาดา ผู้เข้าร่วมมีโอกาสได้ซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมประเพณีชนเผ่าพื้นเมืองอันมั่งคั่งของภูมิภาค พวกเขาได้ไปเยี่ยมดับไป (สถานที่ศักดิ์สิทธิ์) หลายแห่ง อันเป็นที่ที่สภาผู้อาวุโสประชุมกันเพื่อหารือกันเกี่ยวกับกฎหมายชนเผ่าพื้นเมือง จัดการกับข้อพิพาทและตัดสินใจในเรื่องที่ส่งผลต่อทั้งชุมชน ดับไป ังคงเป็นส่วนสำคัญของระบบการบริหารจัดการตามประเพณีของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยงานนิติบัญญัติและตุลาการสำหรับชาวอิโกร็อต ภายในโครงสร้างทรงกลมของดับไป เหล่าผู้อาวุโสจัดการประชุมชุมชน ประกอบพิธีกรรมและบรรดาพิธีต่าง ๆ และแบ่งปันภูมิปัญญาของตนกับเยาวชน

Photo by Ella Cariño, PIKP

การเยี่ยมเยียนชุมชนปาเยวและแหล่งเรียนรู้

ในวันที่สอง ผู้เข้าร่วมการประชุมประจำปีได้เข้าเยี่ยมฝ่ายบริหารเทศบาลแห่งเบเซา อันเป็นที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้การทำฟาร์มของปาเยว

แหล่งเรียนรู้นี้ทำหน้าที่เป็นสถานที่ที่มีการทำนาของชนเผ่าพื้นเมืองตามประเพณีโดยชาวปาเยว ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติมาสู่วิธีการเกษตรสมัยใหม่ อาทิเช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวและการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชเคมีสังเคราะห์

ในอดีต คนจำนวนมากอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน เราทำฟาร์มโดยการปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ข้าวของเรามีมากมาย เราสามารถเติมเต็มยุ้งฉางข้าวของเราด้วยการเก็บเกี่ยวของเรา แต่ทุกวันนี้ เราแก่แล้วและไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่ คนรุ่นใหม่ที่ทำฟาร์มมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชและสารเคมีอื่น ๆ การเก็บเกี่ยวไม่ดีเท่ากับเมื่อก่อน” – แพนซี ปังก๊อก ผู้อาวุโสสตรีชาวปาเยว

ภาพโดย ลูซี อาร์. ICCS

ในเมืองเบเซา PIKP ทำงานร่วมกับองค์กรเกษตรกรชนเผ่าพื้นเมืองปาเยว (PIFO) เพื่อฟื้นฟูระบบอาหารตามประเพณี ด้วยความหวังว่าชุมชนจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านอาหารและจัดการกับการสูญหายของความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นผลมาจากการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบทันสมัยที่ต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก

“เรากำลังจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบเกษตรของชนเผ่าพื้นเมืองสามารถทำได้ บทบาทของโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลงคือการฟื้นฟูการปฏิบัติที่ใกล้สูญหายเหล่านี้ เพื่อให้การทำฟาร์มสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้อีกครั้ง

ทุกวันนี้ วัตถุประสงค์ของเราคือการฟื้นฟู สร้างนวัตกรรม และแนะนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับธรรมชาติเพื่อทำให้การเกษตรเป็นแหล่งอาหารและรายได้ที่เป็นไปได้สำหรับชุมชน” – แมทธิว เทาลี ผู้ฝึกอบรมแหล่งเรียนรู้ PIFO

ณ แหล่งปาเยว ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ว่าการเสริมความเข้มแข็งให้แก่การบริหารจัดการตามขนบประเพณีของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ดังเช่น ชาวปาเยว โดยร่วมมือกับรัฐบาลเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูระบบอาหารของชนเผ่าพื้นเมือง

“โดยผ่านโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลง เราทำงานกับฝ่ายรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับการจัดการและปกป้องพื้นที่บรรพบุรุษ เรายังได้ขอให้รัฐบาลจัดหาเครื่องทำปุ๋ยหมักและเครื่องทำลายเอกสารให้กับชุมชน ชุมชนเองยังได้แนะนำนวัตกรรมการทำฟาร์มชีวภาพ อาทิเช่น ปุ๋ยที่ทำจากพืชที่อยู่โดยรอบนี้หรือจากสิ่งมีชีวิตในไร่นา”แอนนี่ เทาลี PIFO

ในระหว่างการแลกเปลี่ยนกับชุมชนปาเยว ผู้เข้าร่วมจากประเทศที่เป็นหุ้นส่วนยังได้แบ่งปันประสบการทำนองเดียวกันเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเน้นทั้งข้อท้าทายต่าง ๆ ที่พวกเขาประสบในฐานะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองและความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูและสร้างนวัตกรรมของการทำเกษตรตามประเพณี การแลกเปลี่ยนเน้นว่าชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกันอย่างไร จากการสูญเสียทรัพยากรธรามชาติไปจนถึงการเซาะกร่อนภูมิปัญญาและการปฏิบัติด้านการเกษตรตามประเพณี

“เราเรียนรู้จากบรรพบุรุษของเราว่าดวงอาทิตย์สอนวิธีล่าสัตว์ นกสอนวิธีเก็บหาหรือรวบรวมอาหาร และน้ำสอนเราถึงวิธีรักษา […] ในเปรู เราล่าสัตว์ในป่าแลเราหาปลาในลุ่มน้ำ ทุกวันนี้ เราสังเกตว่าเราเพียงแต่บริโภคและเรากำลังสูญเสียทัศนะของการผลิตในชีวิตของเรา

“ตัวอย่างเช่น เรามีนาข้าวขนาดใหญ่ แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากนาเหล่านั้นเลย และเรายังคงนำข้าวมาจากภายนอก แทนที่จะผลิตเอง ดังนั้น เราต้องเน้นไปที่การผลิต ไม่ใช่แค่เพียงการบริโภคเท่านั้น” – นีล เอนซินัส GTANW, เปรู

 

“ในซาบาห์ สถานการณ์คล้ายคลึงกัน – เรามีนาข้าวขนาดใหญ่และน่าเสียดายที่นาเหล่านั้นถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ที่ดิน [ชุมชน] ที่ได้รับมรดกมาบางส่วนถูกขายไป ดังนั้น ในท้ายที่สุด ชุมชนก็ไม่เหลืออะไร และที่ดินของพวกเขาก็กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ไป ชุมชนยังมีความเปราะบางมากในแง่ของความมั่นคงทางอาหาร เพราะพวกเขามีข้าวไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้าจากเวียตนามและไทย

“แต่ด้วยองค์กรชุมชนของเรา คือ – PACOS Trust เราพยายามอย่างดีที่สุดที่จะมีที่ดินแม้เพียงแปลงเล็ก ๆ สำหรับปลูกข้าวและก็เป็นความสำเร็จ” – กอร์ดอน จอห์น โธมัส, PACOS, มาเลเซีย

ประสบการณ์ร่วมกันเหล่านี้เน้นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง รัฐบาลท้องถิ่นและระดับประเทศ และผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์เพื่อสร้างวิถีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและอธิปไตย ในขณะที่เรียกคืนภูมิปัญญาและการปฏิบัติของชนเผ่าพื้นเมือง

บทบาทของเยาวชนและเด็กในการถ่ายทอดภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง

ต่อมาในสัปดาห์ ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายที่มุ่งเน้นไปที่บทบาทสำคัญของเยาวชนและเด็กในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง วาระนี้จึงเป็นการชูประเด็นสำคัญของการประชุมประจำปีที่เชื่อมโยงกับหนึ่งในสองประเด็นหลัก

Photo by Ella Cariño, PIKP

เวทีอภิปรายประกอบด้วยกลุ่มวิทยากรระหว่างรุ่นคน รวมทั้งผู้แทนเยาวชนจากฟิลิปปินส์ เคนยา และไทย กับทั้งผู้อาวุโสชาวอีบาลอยจากฟิลิปปินส์ มานัง วิคกี้ มาคาย พวกเขาร่วมกันหารือว่าเด็กและเยาวชนสามารถสร้างความมีชีวิตชีวาของภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองได้อย่างไร และสำรวจดูว่าโครงการวิถีการเปลี่ยนแปลงจะสามารถสนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องนี้ได้อย่างไร

“เยาวชนเป็นผู้สืบทอดความรู้ พวกเขาต้องรักษาระบบภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองให้คงอยู่เพื่อให้ชุมชนดำเนินต่อไปได้ บทบาทของผู้อาวุโสคือการถ่ายทอดสู่เยาวชน เยาวชนเองต้องรับฟังผู้อาวุโสและภูมิปัญญาของพวกเขา และผู้อาวุโสต้องไว้วางใจเยาวชนในการรักษาภูมิปัญญาไว้” – เจสัน เวอร์โซลา PIKP

การหนุนเสริมภาวะผู้นำเยาวชน การสร้างความไว้วางใจระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุ และการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาเป็นหัวข้อที่วิทยากรหลายคนหยิบยกขึ้นมา

มิลกา เชปกาซี จาก CIPDP ได้แบ่งปันตัวอย่างที่น่าสนใจจากชุมชนของเธอ ที่ซึ่งเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการให้เยาวชนเข้าร่วม ในชุมชนโอเกียกแห่งเขาเอลก็อนในเคนยา พวกเขาให้แอปป์มาปีโอในการจัดทำแผนที่ความหลากหลายทางชีวภาพและการกำกับติดตามกิจกรรมต่างๆ – อันเป็นแอปป์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยสมารท์โฟนเท่านั้น – ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลสูงยิ่งในการดึงดูดคนหนุ่มสาวเข้าร่วมในความพยายามด้านงานอนุรักษ์ เนื่องจากพวกเขาส่วนใหญ่กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง

เป็นความสำคัญที่การถ่ายทอดภูมิปัญญาบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีเพื่อให้การรับรู้ของเยาวชนมีสูงขึ้น – มิลกา เชปกาซี CIPDP

เราหนุนเสริมให้เยาวชนเข้ามาใช้พื้นที่ความเป็นผู้นำ เมื่อพวกเขาเป็นผู้นำกระบวนการ พวกเขาจึงเป็นเจ้าของกระบวนการและดังนั้นจึงง่ายต่อการปลูกฝังการเรียนรู้ – เอ็ดนา คิปลากาต IIN

 

สำหรับเรา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ระหว่างเยาวชน ผู้อาวุโส และสมาชิกคนอื่น ๆ ในชุมชน แนวคิดและความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเมื่อพวกเขามารวมตัวกัน – สุนารี พึ่งพาเลิศ PASD

คณะยังได้กล่าวถึงอุปสรรคบางประการที่เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองต้องเผชิญในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา รวมทั้งความท้าทายในการสืบทอดภาษาตามประเพณีและการสื่อสารกับผู้สูงอายุ และการต่อสู้ด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากแรงกดดันในแต่ละวันที่เยาวชนอาจเผชิญ

คณะได้สรุปด้วยสุนทรพจน์ที่น่าประทับใจโดย มานัง วิคกี้ แมเคย์ ผู้อาวุโสและนักการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ผู้ที่ได้แบ่งปันเรื่องราวของเธอเกี่ยวกับความสำคัญของการทำสวนตามประเพณี

Photo by Claudia Faustino, UNEP-WCMC

มานัง วิคกี้ ที่ขณะนี้อายุ 71 ปีจำได้ว่าเมื่อเป็นเด็ก เธอจะไปสวนก่อนไปโรงเรียน ขณะที่เด็กชนเผ่าพื้นเมืองจำนวนมากในทุกวันนี้แสวงหาการศึกษาในระบบ พวกเขามักจะมองข้ามการปฏิบัติตามประเพณีดังเช่นการทำสวน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมอีบาลอย มานัง วิคกี้ ได้แสดงความยินดีที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ รวมถึงหลานชายวัยหกขวบของเธอ ให้มีความสนใจในการเพาะปลูก โดยผ่านความคิดริเริ่มต่าง ๆ ดังเช่น มรดกสวนของชาวอีบาลอย มานัง วิคกี้ และชุมชนของเธอสอนเด็ก ๆ ถึงความสำคัญของการดูแลโลก ถ่ายทอดภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองที่สำคัญสำหรับคนรุ่นอนาคต

งานแสดงสินค้าการสื่อสารและคืนแห่งความเป็นปึกแผ่น

การชูเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของการประชุมประจำปี คืองานแสดงสินค้าด้านการสื่อสาร ที่หุ้นส่วนโครงการแต่ละฝ่ายได้แสดงงานด้านการสื่อสารและสื่อต่าง ๆ ของตนที่พัฒนาขึ้นตลอดช่วงโครงการ งานแสดงสินค้าได้จัดให้มีเวทีสำหรับการแบ่งปันความมั่งคั่งของทรัพยากรที่สร้างสรรค์และเป็นทางการศึกษาโดยหุ้นส่วนระดับโลกและภายในประเทศ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่หัวข้อภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองและหัวข้ออื่น ๆ ที่โครงการวิถีการเปลี่ยนแปลงกล่าวถึง

ในการแลกเปลี่ยนอย่างมีพลวัตนี้ มีการนำเสนอสื่อที่หลากหลายอย่างมาก รวมทั้งหนังสือ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วัสดุทางวัฒนธรรทม และสิ่งพิมพ์ที่สะท้อนถึงความลึกและความกว้างขวางของโครงการ

หุ้นส่วนในท้องถิ่นบางคนของ PIKP ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า โดยมีส่วนนำสินค้ามาร่วมหลายรายการที่มีความสำคัญสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ อันรวมถึงผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผ้า ศิลปะและงานฝีมือ และวัสดุทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มีเอกลักษณ์

โดยผ่านการแบ่งปันทรัพยากรเหล่านี้ งานแสดงสินค้าจึงไม่เพียงเน้นให้เห็นการมีส่วนอันมากมายและมีความต่อเนื่องของชนเผ่าพื้นเมืองในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์วัฒนธรรม แต่ยังแสดงให้เห็นคุณค่าของความร่วมมือซึ่งกันและกันและการเรียนรู้จากกันและกัน

งานนี้ยังได้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้สำรวจวิถีทางต่าง ๆ ที่สิ่งของเหล่านี้ถูกนำมาใช้ดึงดูดผู้เยี่ยมชมทั้งชนเผ่าพื้นเมืองและผู้ไม่ใช่ชนเผ่าพื้นเมือง เป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาตามประเพณีและสิทธิในที่ดิน ในบรรดาประเด็นอื่น ๆ ที่สำคัญ

การประชุมประจำปียุติลงด้วยค่ำคืนแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งมีการแสดงทางวัฒนธรรมจากหุ้นส่วนแต่ละฝ่าย ด้วยการมีส่วนร่วมของกลุ่มทั้งหมด พร้อมไปกับรายการพิเศษของการขับร้องและเล่นเครื่องดนตรีตามประเพณีที่นำโดยเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองจากฟิลิปปินส์