Skip to main content

เมื่อศรัทธาผนวกความเข้าใจการอนุรักษ์ตามวิถีปกาเกอะญอ

การบวชป่า และการบวชน้ำ ไม่ใช่แค่พิธีกรรมการนำผ้าเหลืองไปห่มต้นไม้ หรือทำพิธีกับแม่น้ำเท่านั้น หากแต่เป็น กุศโลบายอันลึกซึ้ง ที่ผสานความเชื่อ ความศรัทธา และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับการอนุรักษ์ธรรมชาติของคนปกาเกอะญออย่างแนบเนียน

นี่คือเรื่องราวที่เล่าขานถึงสายสัมพันธ์อันเก่าแก่ระหว่าง “คน” “ป่า” และ “ศาสนา” ที่ยังคงดำรงอยู่ในหลายชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมและพึ่งพาป่าเป็นแหล่งชีวิต

รากเหง้าแห่งความศรัทธาและจิตสำนึก

แก่นแท้ของการบวชป่าและการบวชน้ำ คือมากจากความคิดการอนุรักษ์ที่เชื่อมกับการเคารพธรรมชาติ ซึ่งปกาเกอะญอจะมีการทำพิธี “หลื่อที หลื่อก่อ” เป็นพิธีเซ่นไหว้เคารพเทพที่ดูแลรักษาป่าและน้ำในการขอบคุณและให้ความเคารพต่อสิ่งศักสิทธิ์ที่ดูแลธรรมชาติ และการอวยพรให้มีผลผลิตในชุมชนที่ดีเพื่อให้ในชุมชนมีอาหารพออยู่พอกิน รวมถึงการที่ให้สิ่งศักสิทธิ์คุ้มครองชุมชนไม่ให้เกิดความขัดแย้งและการแตกสลายของชุมชน

โดยชุมชนปกาเกอะญอจึงนำกลไกนี้ในการสื่อสารถึงคนในชุมชนและชุมชนรอบข้างในการเข้าใจถึงพื้นที่ในการอนุรักษ์ของชุมชนไม่ให้มีการรุกล้ำและให้ช่วยกันดูแลผืนป่าและแม่น้ำในเขตเหล่านี้อีกด้วย โดยใช้ความเชื่อที่ทุกคนยึดถือเป็นกลไกในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน

การบวชป่าการยกระดับผืนป่าให้เป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์”

ชุมชนห้วยขี้เปอะ ต.แม่ศึก จังหวัดใหม่เป็นชุมชนปกาเกอะญอที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตและรักษาธรรมชาติในพื้นที่ โดยชุมชนได้มีการออกแบบและฟื้นการบวชป่าในพื้นที่ป่าชุมชนที่ชุมชนดูแลผ่านองค์ความรู้และวัฒนธรรม โดยทำงานร่วมจากคนแต่ละรุ่นในชุมชนช่วยกันให้เกิดพื้นที่นี้ โดยมีการบวชป่าในชุมชนเป็นพื้นที่ 800 ไร่ (128 เฮกตาร์)

การบวชป่าจะมีการทำพิธีในการอวยพรและบอกกล่าวให้เทพของป่าปกป้องและดูแลพื้นที่นี้ โดยคนในชุมชนจะใช้จีวรของพระมาพันรอบต้นหมายให้เป็นเครื่องหมาย ทำให้ต้นไม้นั้นเทียบเท่ากับ “พระภิกษุ” เมื่อต้นไม้หรือพื้นที่ป่าได้รับการห่มผ้าจีวร ความเชื่อที่ว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือรุกขเทวดาสถิตอยู่ก็ยิ่งทวีความเข้มแข็งในการดูแล ชาวบ้านในชุมชนและชุมชนโดยรอบจะเกิดความยำเกรง ไม่กล้าตัดไม้ทำลายป่าเหล่านั้น เพราะเชื่อว่าเป็นการกระทำที่ผิดบาป หรือเป็นการทำลายชีวิตสิ่งศักดิ์สิทธิ์

นี่ไม่ใช่แค่ความกลัว แต่คือ การสร้างจิตสำนึกร่วมกัน ในระดับชุมชนให้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ที่หล่อเลี้ยงชีวิตพวกเขามาตลอด ป่าคือแหล่งอาหาร ยารักษาโรค และแหล่งต้นน้ำลำธาร พิธีกรรมนี้จึงเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า “ป่าอยู่ได้ คนถึงจะอยู่ได้” รวมถึงตอนนี้ชุมชนได้พัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความระหว่างผู้รู้ในชุมชนและเด็กเยาวชนอีกด้วย

การบวชน้ำการดูแลพื้นที่แหล่งน้ำผ่านผู้หญิงและเยาวชน

ชุมชนผาลอปิ ต.แม่ศึก จังหวัดใหม่เป็นชุมชนปกาเกอะญอที่กลุ่มผู้หญิงและเยาวชนได้ลุกขึ้นมาทำงานในการดูแลทรัพยากรในพื้นที่รวมถึงแหล่งน้ำที่ล้อมรอบชุมชน โดยกลุ่มคนเหล่านี้ได้มีการสร้างการออกแบบร่วมในชุมชนในการ ให้พื้นที่แม่น้ำเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ “อนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ” เพื่อให้ยังคงรักษาความหลากหลายของสัตว์น้ำในพื้นที่ได้ และการสร้างจิตสำนึกในการดูแลแหล่งน้ำของชุมชนและชุมชนรอบข้างอย่างมีส่วนร่วม

กลไกนี้ได้ถูกทำขึ้น และมีการทำงานต่อของกลุ่มผู้หญิงและเยาวชนในการเก้บข้อมูลพัน์สัตว์น้ำและมีการประเมินความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำเพื่อสะท้อนถึงงานที่กลุ่มจะต้องดูแลเอาใจใส่ และทำงานร่วมกันในกลุ่ม

ร่วมถึงการพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และความคิดในการดูแลจัดการทรัพยากรสู่เด็กและเยาวชนในชุมชนให้มีจิตสำนึกในการดูแลร่วมกันในพื้นที่

มากกว่าพิธีกรรม สู่การลงมือทำร่วมกัน

การบวชป่า และการบวชน้ำไม่ใช่เพียงแค่พิธีที่จบลงในวันเดียว แต่เป็น จุดเริ่มต้นของการรวมใจและลงมือทำอย่างต่อเนื่อง นี่คือเรื่องราวของการ “พลิกฟื้น” สู่การสร้าง “วิถีชีวิต” ที่เคารพธรรมชาติ ดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และส่งต่อผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์นี้ไปยังลูกหลานได้อย่างภาคภูมิใจ

ซึ่งการทำเช่นนี้สะท้อนถึงคำสอนของปกาเกอะญอได้มี บทธา (เพลงพื้นบ้าน) ได้กล่าวไว้ว่า

“Auf hti k’tauz hti, auf kauj k’tauz kauj, Auf deif k’tauz lei, Auf nyaf k’tauz kwiv ”

” กินกับน้ำให้รักษาน้ำ กินกับป่าให้รักษาป่า กินเขียดให้ดูแลผา กินปลาให้ดูแลแม่น้ำ “