Skip to main content

“วิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง: กลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน”

วันนี้ ดร.ประเสริฐ ตระการศุภกร ผู้อำนวยการสมาคมป กาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (PASD) พาเจ้าหน้าที่ สมาคมฯ ร่วมเปิดตัวโครงการ “วิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง: กลุ่มชาติ พันธุ์และชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน” วันที่ 26มกราคม 2566 ณ. ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก จัดโดยสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน-สป.พย.(PASD) และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึก

เนื่องจากสมาคม PASD และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(IMPECT) จะเริ่มดำเนินงานโครงการวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง: กลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน ในตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก้อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย สำหรับสมาคม PASD มีพื้นที่เป้าหมาย ใน 7 หมู่บ้าน ทางการ ซึ่งมี 25 หย่อมบ้าน ในตำบลแม่ศึก ดังต่อไปนี้ หมู่ที 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 14 หมู่ที่ 15 และ หมู่ที่ 17 ระยะเวลาดำเนินงาน 6 ปี โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน จาก การริเริ่มภูมิอากาศนานาชาติ(International Climate Initative : IKI) จากรัฐบาลเยอรมัน

เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ดำเนินงานได้รับทราบโครงการและแผนงานโครงการและมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนและเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการจัดการร่วม (Co-Management) และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆพร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบการทำงานร่วมกันขององค์กรภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างอย่างมีส่วนร่วมและเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมและรับรองแผนการดำเนินงานโครงการ

ผู้เข้าร่วมประชุม คือ ผู้แทนจากชุมชนเป้าหมาย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ ปลัดอำเภอแม่แจ่ม เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ และมูลนิธิรักษ์ไทย เจ้าหน้าที่ สมาคม PASD และบางส่วนรับฟังจากออนไลน์ในโปรแกรมซูม

ได้รับรู้ที่มา แนวคิดโตรงการ แผนงาน และรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะ จากทุกฝ่าย เช่น วิธีการโคกหนองนา ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ศูย์การเรียนรู้ระดับตำบล ความมั่นคงทางอาหาร การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินตาม คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ(คชท.)

หมายเหตุ: ตำบลแม่ศึก เป็นตำบลหนึ่งที่มีรูปแบบการจัดการร่วมที่ร่วมมือกับกับหน่วยงานองค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่หลายฝ่าย ได้การดำเนินงานระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ที่จัดเก็บ สำรวจข้อมูลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ทิน การจัดการป่า และการวิเคราะห์สถานะภาพการใช้ที่ดิน ที่เป็นต้นแบบที่ดีตำบลหนึงในประเทศ ดังนั้นตําบลแม่สกจึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโมเดลที่แตกต่างกันในประเทศไทยในพื้นที่นี้

อ่านบทความต้นฉบับภาษาไทยได้ที่เว็บไซต์ PASD