Skip to main content

มชนมาไซ ซัมบูรู และโปก๊อตเป็นชุมชนเลี้ยงสัตว์ทุ่งหญ้ากึ่งเร่ร่อนในประเทศเค็นยาผู้ที่มีการอพยพอยู่ภายในที่ราบกึ่งแห้งแล้งเพื่อให้มีน้ำและทุ่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์ของพวกเขา วิถีชีวิตของพวกเขารวมศูนย์อยู่กับฝูงวัวควายอันเป็นแหล่งอาหารหลักของพวกเขา และสำหรับพวกเขา ความมั่งคั่งวัดกันที่ฝูงวัวและจำนวนเด็ก ๆ แทนที่จะเป็นเรื่องเงิน พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของชนเผ่าจำนวนไม่มากของประเทศเค็นยา ผู้ที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตตามประเพณีของพวกตนในหลายปีที่ผ่านมา

ในชุมชนมาไซ อธิปไตยด้านอาหารสัมพันธ์กับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาตาประเพณีในการผลิตอาหาร กับทั้งการจัดการตนเองและการกำหนดตนเองของชาวมาไซในการจัดการระบบอาหารของพวกเขา ชาวมาไซมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงระบบนิเวศในท้องถิ่นของตนและการปฏิบัติด้านการเกษตรตามประเพณี ซึ่งได้มีการพัฒนาและขัดเกลากันมาหลายชั่วอายุคน อธิปไตยด้านอาหารในชุมชนมาไซเกี่ยวข้องกับการปกป้องเมล็ดพันธุ์ พืชพันธุ์ และพันธุ์ปศุสัตว์ตามประเพณี ซึ่งได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและมีบทบาทสำคัญใ ความมั่นคงทางอาหารของตน ทั้งยังรวมถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อาทิเช่น ที่ดินและน้ำในวิถีทางที่ธำรงไว้ซึ่งสมดุลทางนิเวศวิทยาและการเคารพคุณค่าทางวัฒนธรรมและธรรมเนียมประเพณีของชาวมาไซ

ภูมิปัญญาตามประเพณีของชุมชนมาไซบอกถึงการปฏิบัติด้านการเกษตร รวมถึงการหมุนเวียนพืช วนเกษตร และการจัดการพื้นที่เลี้ยงสัตว์ พวกเขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความเชื่อมโยงระหว่างกันของพืช สัตว์ และสภาพแวดล้อม ซึ่งช่วยให้พวกเขาปลูกฝังและธำรงความหลากหลายและความสามารถปรับตัวของระบบอาหารได้ ภูมิปัญญานี้ได้มีการสืบทอดผ่านธรรมเนียมมุขปาฐะ พิธีกรรม และประสบการณ์การปฏิบัติภายในชุมชน

ภาพถ่ายสดงชุมชนมาไซปฏิบัติวนเกษตร . เครดิตภาพ: IIN

ในชุมชนซัมบูรู อธิปไตยด้านอาหารผูกพันอย่างใกล้ชิดกับการอนุรักษ์และการใช้ภูมิปัญญาตามประเพณีในการผลิตและการจัดการอาหาร ชาวซัมบูรูได้พัฒนาความร่ำรวยด้านภูมิปัญญาและการปฏิบัติมาหลายชั่วอายุคนและใช้ระบบนิเวศของตนอย่างยั่งยืนและมีส่วนในความมั่นคงด้านอาหารของตน

อธิปไตยด้านอาหารในชุมชนซัมบูรูครอบคลุมการปกป้องและการขยายพันธุ์พืชพื้นเมือง พันธุ์ปศุสัตว์และแหล่งอาหารป่าที่นำมาใช้กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของตน ชาวซัมบูรูพึ่งพาภูมิปัญญาตาประเพณีของตนในการระบุและปลูกฝังความต้านทานต่อความแห้งแล้งและเพาะพันธุ์ปศุสัตว์ที่เจริญเติบโตได้ในผืนดินแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ภูมิปัญญานี้มีการถ่ายทอดผ่าน นคนต่าง ๆ ด้วยมุขปาฐะและครอบคลุมเทคนิคการเกษตรที่หลากหลาย การคัดเลือกและอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ และการปฏิบัติด้านการจัดการปศุสัตว์ การรักษาอธิปไตยด้านอาหารทำให้ ชาวซัมบูรูสามารถยืนยันการควบคุมการผลิตอาหารของพวกเขาได้ สามารถตัดสินใจว่าจะปลูกพืชใดบ้าง จะเลี้ยงสัตว์ใดบ้าง และจะใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร ทั้งช่วยให้ มั่นใจถึงความพร้อมของความสำคัญทางวัฒนธรรมและอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม

Revitalization of traditional food through sustainable agriculture by Samburu Community. Photo credits: IIN

การฟื้นฟูอาหารตามประเพณีผ่านการเกษตรแบบยั่งยืนโดยชุมชนซัมบูรู. เครดิตภาพ: IIN

อธิปไตยด้านอาหารในชุมชนโปก๊อตยังมีการพึ่งพาภูมิปัญญาและการปฏิบัติตามประเพณีด้วยที่ได้มีการพัฒนาและได้รับการยกย่องมาหลายชั่วอายุคน ในแง่ของการผลิต ชาวโปก๊อตได้พึ่งพาการผสมผสานการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงปศุสัตว์ตามประเพณี พวกเขาได้พัฒนาวิธีการเฉพาะสำหรับการเพาะปลูกพืช อาทิเช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง-sorghum ข้าวฟ่าง-millet และถั่วต่างๆ ที่ได้ปรับตัวต่อสภาพอากาศของท้องถิ่นและสภาพดินของตน เทคนิคตามประเพณี อาทิ เช่น การปลูกพืชผสมผสาน การทำขั้นบันได

Learning new skills on planting and restoration to achieve food security. Photo credits: IIN

และวนเกษตรถูกใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ที่ดินและการอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. เครดิตภาพ: IIN